อั่งเปา และ แต๊ะเอีย ในวันวันตรุษจีนต่างกันอย่างไร

"อั่งเปา" และ "แต๊ะเอีย" ในวันวันตรุษจีนต่างกันอย่างไร
 
ในช่วงนี้หลายคนคงเตรียมตัวเตรียมใจรับแต๊ะเอียในวันตรุษจีนประจำปี 2564 กันอย่างตื่นเต้น โดยเฉพาะใครที่มีครอบครัวเชื้อสายจีนคงจะตื่นเต้นมากกว่าใครๆ
 
 
นอกจากวันตรุษจีนจะเป็นวันที่ญาติๆจะมารวมตัวพบปะกันแล้ว ยังมีการปฎิบัติตามธรรมเนียมที่เด็กๆในครอบครัว จะได้รับซองสีแดงจากญาติผู้ใหญ่ ซึ่งเราเรียกกันว่า “อั่งเปา” หรือ "แต๊ะเอีย"
 
 
ท่านผู้อ่านนึกสงสัยกันไหมครับว่าทำไมต้องเรียก “อั่งเปา” หรือ “แต๊ะเอีย” กันด้วย มันคืออะไร และมอบให้กันเพื่ออะไร?
 
 
อันที่จริง เราก็สามารถจะเรียกว่า “อั่งเปา” หรือ “แต๊ะเอีย” ใช้แทนสิ่งมงคลที่ญาติผู้ใหญ่มอบให้ก็ได้ทั้งนั้นครับ แต่มันก็มีความแตกต่างกันนิดเดียวเท่านั้น
 
 
“อั่งเปา” คำนี้ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หมายถึง ซองสีแดง โดยภาษาจีนกลางจะเรียกซองแดงว่า “หงเปา” หรืออุปกรณ์ที่คนทั่วไปเอาไว้ใส่สิ่งของเพื่อมอบในวันตรุษจีน
 
 
คำว่า "อั่ง" แปลว่า แดง
คำว่า "เปา" แปลว่า ซอง หรือ กระเป๋า
 
 
งั้นเรามาดูคำว่า "แต๊ะเอีย" กันบ้างครับ
"แต๊ะเอีย" ก็เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว
 
 
คำว่า “แต๊ะ” แปลว่า ทับ หรือ กด
คำว่า “เอีย” แปลว่า เอว
เมื่อนำรวมกัน “แต๊ะเอีย” จะมีความหมาย "ผูกไว้ที่เอว"
 
 
"แต๊ะเอีย" คำนี้มีที่มาครับ ในอดีตนั้นคนจีนจะใช้เงินเหรียญที่มีรูอยู่ตรงกลาง ถ้าใครเคยเห็นเหรียญเก่าๆจากเมืองจีนจะมีรูตรงกลางก็พอจะนึกออก
 
 
ในเวลาจะพกไปไหนมาไหนก็ต้องร้อยเหรียญเป็นพวงมาผูกไว้ที่เอว และในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี่เอง ผู้ใหญ่ที่มอบเงินให้เด็กๆ จะนำเชือกสีแดงมาร้อยเหรียญไว้ แล้วมอบให้เด็ก เหมือนเป็นวิธีหนึ่งที่ไว้ป้องกันไม่ให้เด็กๆทำเงินหล่นหายครับ
 
 
ในส่วนของเด็กๆ เมื่อรับเงินมาแล้ว ก็จะนำพวงเหรียญเชือกแดงนี้มาผูกไว้ที่เอว จึงได้ก่อกำเนิดคำว่า “แต๊ะเอีย” ขึ้นนั่นเองครับ
 
 
แต่ทว่าในปัจจุบันไม่มีการใช้เงินเหรียญที่มีรูตรงกลางแล้ว “แต๊ะเอีย” จึงมีความหมายขยายกว้างขึ้นไปอีก เช่น “สิ่งของ” หรือ “เงิน” ที่ใส่ไว้ในซองสีแดง
 
 
คราวนี้เราพอจะเข้าใจความหมายและที่มาของคำว่า “แต๊ะเอีย” กับ “อั่งเปา” แล้วพอสังเขป
 
 
งั้นขอแถมอีกเรื่อง ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ “แต๊ะเอีย” มีวันหมดอายุ ใครที่เติบโตขึ้น มีการมีงานทำเป็นของตัวเองแล้ว จะไม่ได้รับ “แต๊ะเอีย” แล้วนะ ใครโตแล้ว มีหน้าที่การงานแล้ว ห้ามเนียนไปขอแต๊ะเอียนะครับ ยกเว้นผู้ใหญ่จะให้มีความประสงค์มอบให้อันนี้อันนี้โอเคครับ เมื่อโตแล้วจะต้องเป็นคนให้เงิน “แต๊ะเอีย” กับเด็กๆในบ้านที่มีอายุน้อยกว่าแทน เตรียมซองแดงได้เลยครับ
 
 
เตรียมซองแดงแจกเด็กๆ
นอกจากนั้นไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ หัวหน้า หรือเจ้านายที่จะให้ “แต๊ะเอีย” หรือ “อั่งเปา” กับเด็กๆ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้องได้เท่านั้น
 
 
ผู้น้อยก็ยังสามารถมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่าได้เหมือนกัน โดยการมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่านั้น ถือเป็นการอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่คุณเคารพรัก มีความสุข สุขภาพที่ดี อายุยืนยาว แข็งแรงไร้โรคภัย
 
 
ทั้งนี้ทั้งนั้นหากผู้ใหญ่ประสงค์จะมอบอั่งเปาให้ลูกหลานที่ทำงานแล้วก็ไม่ใช่อะไรที่เสียหายครับ ถือว่าเป็นการอวยพรอีกทางจากผู้ใหญ่ให้เจริญก้าวหน้า
 
 
ในส่วนของลูกๆ เมื่อมีการงานของตนเองแล้ว หรือแต่งงานไปแล้ว แต่ประสงค์จะมอบอั่งเปาให้พ่อแม่เพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ก็ทำได้ครับ
 
 
การที่ลูก ๆ ให้อั่งเปาพ่อแม่ และพ่อแม่ก็ให้อั่งเปาลูก ๆกลับ เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ผิดครับ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรัก ความห่วงใย ให้แก่กันและกัน
 
 
นี่คือสิ่งหนึ่งความอบอุ่นที่สัมผัสได้ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เทศกาลที่เสริมสร้างครอบครัวให้รักกัน เข้าอกเข้าใจกัน และกตัญญูรู้คุณผู้อาวุโส ตรุษจีนเทศกาลที่มีอะไรมากกว่าที่คิด
 
 
新正如意 新年发财 (ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้) ขอให้ปีใหม่นี้สมหวังทุกประการ ร่ำรวยมั่งคั่งนะครับ
 
ขอบคุณที่มา : เจาะเวลาหาอดีต https://www.blockdit.com/articles/60242bccfdad150bb9170605
 
 
2
 
ในช่วงนี้หลายคนคงเตรียมตัวเตรียมใจรับแต๊ะเอียในวันตรุษจีนประจำปี 2564 กันอย่างตื่นเต้น โดยเฉพาะใครที่มีครอบครัวเชื้อสายจีนคงจะตื่นเต้นมากกว่าใครๆ
1
 
นอกจากวันตรุษจีนจะเป็นวันที่ญาติๆจะมารวมตัวพบปะกันแล้ว ยังมีการปฎิบัติตามธรรมเนียมที่เด็กๆในครอบครัว จะได้รับซองสีแดงจากญาติผู้ใหญ่ ซึ่งเราเรียกกันว่า “อั่งเปา” หรือ "แต๊ะเอีย"
 
ท่านผู้อ่านนึกสงสัยกันไหมครับว่าทำไมต้องเรียก “อั่งเปา” หรือ “แต๊ะเอีย” กันด้วย มันคืออะไร และมอบให้กันเพื่ออะไร?
 
อันที่จริง เราก็สามารถจะเรียกว่า “อั่งเปา” หรือ “แต๊ะเอีย” ใช้แทนสิ่งมงคลที่ญาติผู้ใหญ่มอบให้ก็ได้ทั้งนั้นครับ แต่มันก็มีความแตกต่างกันนิดเดียวเท่านั้น
 
“อั่งเปา” คำนี้ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หมายถึง ซองสีแดง โดยภาษาจีนกลางจะเรียกซองแดงว่า “หงเปา” หรืออุปกรณ์ที่คนทั่วไปเอาไว้ใส่สิ่งของเพื่อมอบในวันตรุษจีน
 
คำว่า "อั่ง" แปลว่า แดง
คำว่า "เปา" แปลว่า ซอง หรือ กระเป๋า
 
งั้นเรามาดูคำว่า "แต๊ะเอีย" กันบ้างครับ
"แต๊ะเอีย" ก็เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว
 
คำว่า “แต๊ะ” แปลว่า ทับ หรือ กด
คำว่า “เอีย” แปลว่า เอว
เมื่อนำรวมกัน “แต๊ะเอีย” จะมีความหมาย "ผูกไว้ที่เอว"
 
"แต๊ะเอีย" คำนี้มีที่มาครับ ในอดีตนั้นคนจีนจะใช้เงินเหรียญที่มีรูอยู่ตรงกลาง ถ้าใครเคยเห็นเหรียญเก่าๆจากเมืองจีนจะมีรูตรงกลางก็พอจะนึกออก
 
ในเวลาจะพกไปไหนมาไหนก็ต้องร้อยเหรียญเป็นพวงมาผูกไว้ที่เอว และในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี่เอง ผู้ใหญ่ที่มอบเงินให้เด็กๆ จะนำเชือกสีแดงมาร้อยเหรียญไว้ แล้วมอบให้เด็ก เหมือนเป็นวิธีหนึ่งที่ไว้ป้องกันไม่ให้เด็กๆทำเงินหล่นหายครับ
 
ในส่วนของเด็กๆ เมื่อรับเงินมาแล้ว ก็จะนำพวงเหรียญเชือกแดงนี้มาผูกไว้ที่เอว จึงได้ก่อกำเนิดคำว่า “แต๊ะเอีย” ขึ้นนั่นเองครับ
 
แต่ทว่าในปัจจุบันไม่มีการใช้เงินเหรียญที่มีรูตรงกลางแล้ว “แต๊ะเอีย” จึงมีความหมายขยายกว้างขึ้นไปอีก เช่น “สิ่งของ” หรือ “เงิน” ที่ใส่ไว้ในซองสีแดง
 
คราวนี้เราพอจะเข้าใจความหมายและที่มาของคำว่า “แต๊ะเอีย” กับ “อั่งเปา” แล้วพอสังเขป
 
งั้นขอแถมอีกเรื่อง ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ “แต๊ะเอีย” มีวันหมดอายุ ใครที่เติบโตขึ้น มีการมีงานทำเป็นของตัวเองแล้ว จะไม่ได้รับ “แต๊ะเอีย” แล้วนะ ใครโตแล้ว มีหน้าที่การงานแล้ว ห้ามเนียนไปขอแต๊ะเอียนะครับ ยกเว้นผู้ใหญ่จะให้มีความประสงค์มอบให้อันนี้อันนี้โอเคครับ เมื่อโตแล้วจะต้องเป็นคนให้เงิน “แต๊ะเอีย” กับเด็กๆในบ้านที่มีอายุน้อยกว่าแทน เตรียมซองแดงได้เลยครับ
 
เตรียมซองแดงแจกเด็กๆ
นอกจากนั้นไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ หัวหน้า หรือเจ้านายที่จะให้ “แต๊ะเอีย” หรือ “อั่งเปา” กับเด็กๆ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้องได้เท่านั้น
 
ผู้น้อยก็ยังสามารถมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่าได้เหมือนกัน โดยการมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่านั้น ถือเป็นการอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่คุณเคารพรัก มีความสุข สุขภาพที่ดี อายุยืนยาว แข็งแรงไร้โรคภัย
 
ทั้งนี้ทั้งนั้นหากผู้ใหญ่ประสงค์จะมอบอั่งเปาให้ลูกหลานที่ทำงานแล้วก็ไม่ใช่อะไรที่เสียหายครับ ถือว่าเป็นการอวยพรอีกทางจากผู้ใหญ่ให้เจริญก้าวหน้า
 
ในส่วนของลูกๆ เมื่อมีการงานของตนเองแล้ว หรือแต่งงานไปแล้ว แต่ประสงค์จะมอบอั่งเปาให้พ่อแม่เพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ก็ทำได้ครับ
 
การที่ลูก ๆ ให้อั่งเปาพ่อแม่ และพ่อแม่ก็ให้อั่งเปาลูก ๆกลับ เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ผิดครับ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรัก ความห่วงใย ให้แก่กันและกัน
 
นี่คือสิ่งหนึ่งความอบอุ่นที่สัมผัสได้ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เทศกาลที่เสริมสร้างครอบครัวให้รักกัน เข้าอกเข้าใจกัน และกตัญญูรู้คุณผู้อาวุโส ตรุษจีนเทศกาลที่มีอะไรมากกว่าที่คิด
 
新正如意 新年发财 (ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้) ขอให้ปีใหม่นี้สมหวังทุกประการ ร่ำรวยมั่งคั่งนะครับ
Visitors: 1,429,856