ฟังดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
ฟังดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
Jack Zenger และ Joseph Folkman ผู้บริหารของ Zenger/Folkman สถาบันที่ปรึกษาด้านผู้นำองค์กร ได้ทำการเก็บตัวอย่างของบทสนทนาจากผู้บริหาร 3,500 ตัวอย่าง เพื่อวิเคาระห์ว่า ลักษณะของการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้นมาจากอะไรบ้าง ข้อสรุปที่พวกเขาได้นั้นน่าสนใจมาก
และรายงานฉบับนี้ก็ได้ถูกกล่าวถึงในบทความของ Harvard Business Review ชื่อ What Great Listeners Actually Do
แกนหลักของการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้นมีอยู่ 4 เรื่องด้วยกันอันได้แก่
1. ผู้ฟังที่ดีนั้นไม่ได้เงียบและฟังอย่างเดียว
อันนี้อาจจะตรงข้ามกับความเชื่อเดิมๆ ซักหน่อยที่ว่าผู้ฟังที่ดีนั้นต้องเงียบและฟังอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วจากงานวิจัยพบว่า ผู้ฟังที่ดีมีการแทรกการถามคำถามเป็นระยะๆ เพราะว่าการถามคำถามบ้างแปลว่าผู้ฟังกำลังสนใจสิ่งที่คนพูดพูดอยู่ไม่ได้ใจลอยไปไหน
การฟังที่ดีจึงมีลักษณะแบบสองทาง (two way) มากกว่าฟังแค่อย่างเดียว (one way)
2. ผู้ฟังที่ดีช่วยสร้าง self-esteem (ความภูมิใจ) ให้กับผู้พูด
ผู้ฟังที่ดีจะทำให้การสนทนานั้นเป็นประสบการณ์ที่ดีกับทั้งสองฝ่าย ผู้ฟังที่ดีจะทำให้ผู้พูดรู้สึกได้รับการสนับสนุน นอกจากนั้นผู้ฟังที่ดียังสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผู้พูดรู้สึก “ปลอดภัย” ทำให้สามารถ “เปิดใจ” ได้
3. ผู้ฟังที่ดีทำให้บทสนทนานั้นมีความ cooperative (ร่วมมือกัน)
ถ้าเรานึกถึงผู้ฟังที่แย่เราจะพอนึกภาพออก ผู้ฟังที่แย่จะทำให้บทสทนานั้นเป็นแบบ competitive (การแข่งขัน) กลายเป็นการแข่งขัน ผู้ฟังที่ดีจะทำให้บทสนทนานั้นเป็นแบบร่วมมือกัน ไม่ได้หมายความว่าต้องเห็นด้วยทั้งหมด แต่ผู้ฟังที่ดีจะทำให้เกิดความรู้สึกของความเป็น “พวกเดียวกัน” ได้
4. ผู้ฟังที่ดีจะมี feedback
การให้ feedback กับผู้พูดเป็นลักษณะหนึ่งของการเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงต่อได้
การฟังที่ดีก็มี level ด้วยซึ่งประกอบไปด้วย 6 level เราต้องรู้ว่าเราอยากจะอยู่ใน level ไหน
Level 1 : ผู้ฟังที่สามารถทำให้ผู้พูดรู้สึกสะดวกใจหรือปลอดภัย ในการเล่าเรื่องยากๆ อย่างเรื่องดราม่า หรือ เรื่องที่มีผลต่ออารมณ์
Level 2 : ผู้ฟังตั้งใจฟังและแสดงให้เห็นว่าฟังอยู่ตลอดจริงๆ ด้วยการปิดเครื่องมือสื่อสารทั้งหมด
Level 3 : ผู้ฟังสามารถเข้าใจถึงแก่นของเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดได้ เข้าใจบริบท สามารถถามคำถามได้ตรงประเด็น และทวนสิ่งที่ตัวเองเข้าใจเพื่อให้มั่นใจอีกทีว่า เข้าใจประเด็นถูกต้องแน่นอนแล้ว
Level 4 : ผู้ฟังสามารถอ่าน non verbal cues เช่น น้ำเสียง โทนเสียง ภาษากาย ฯลฯ หรือถ้าจะให้พูดอีกอย่างคือ นอกจากฟังด้วยหูแล้ว ต้องฟังด้วยตาด้วย
Level 5 : ผู้ฟังเข้าใจอารมณ์ของผู้พูด สามารถเชื่อมโยง และมี emphaty กับผู้พูดได้
Level 6 : ผู้ฟังสามารถถามคำถามเพื่อทำให้สมมติฐานของการพูดชัดขึ้น และเพื่อต่อยอดทางความคิดให้กับตัวผู้พูดอีกด้วย
ทักษะการสื่อสารนั้นสำคัญต่อการทำงานอย่างมากครับ และจะยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีกในอนาคต
มาฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีกันดีกว่าครับ
ที่มา : Mission To The Moon
|