ทำไมเก้าอี้ตัวนี้ถึงถูกใช้ทั่วโลก

ทำไมเก้าอี้ตัวนี้ถึงถูกใช้ทั่วโลก 
 
ในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา การวิจัยทางการแพทย์ได้ล้ำหน้าไปมาก และมีการศึกษาในเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ และ สิ่งที่เคยเป็นสิ่งที่จำเป็นของมนุษย์ ได้เริ่มทยอยมีผลข้างเคียงกับเราที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน อย่างเช่น นมสดที่เราดื่มกันทุกวันนี้มีปริมาณของน้ำตาลที่มากเกินความต้องการของเด็ก แป้งเด็กมีผลเสียกับทารกซึ่งสามารถทำให้เด็กเป็นภูมิแพ้หรือโรคปอดต่อไปในอนาคตได้ และแม้กระทั่งเก้าอี้ที่ก่อผลเสียให้กับไขสันหลังของเรา และ ทำให้เราเป็นโรค Office Syndrome
 
ในที่สุด และในเรื่องนี้มันก็เลยทำให้ผมสงสัยขึ้นมาว่า เก้าอี้พลาสติกสีขาว ทำไมมันถึงมีเกลื่อนอยู่ทั่วโลก และใครเป็นคิดค้นมันขึ้นมาตั้งแต่แรก และมันดังขึ้นมาได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้เลยหาคำตอบมาให้ครับ
 
อาการออฟฟิศ ซินโดรม
 
เชื่อว่าทุกคนเคยเห็นเก้าอี้ตัวนี้ และก็น่าจะเคยนั่งไปแล้วด้วยซ้ำสักครั้งนึงในชีวิตคุณ เผลอๆคุณกำลังนั่งอยู่ตอนนี้ซะด้วยซ้ำ ซึ่งเก้าอี้ตัวนี้เราอาจจะเรียกว่าเก้าอี้พลาสติกสีขาว (White Plastic Chair) ธรรมดาทั่วไป
 
แต่จริงๆแล้วมันมีชื่อทางการของมันด้วยที่เรียกกันว่า เก้าอี้โมโนบล็อค (Monobloc) เก้าอี้ตัวนี้น่าจะเป็นเก้าอี้ที่ขายดีที่สุดในโลก ด้วยความธรรมดา เรียบง่าย ราคาถูก และจุดที่เด่นที่สุดของมันคือ การที่มันต่อเรียงกันได้ทำให้ประหยัดพื้นที่ได้เยอะ ทำให้เราสามารถเห็นมันในชายหาดแทบจะทุกที่บนโลก หรือ
 
แม้กระทั่งในสลัมที่อินเดีย บนเรือในประเทศแซมเบีย หรือแม้กระทั่งในคาเฟ่ที่ชานเมืองในเดนมาร์ก มันเกลื่อนมากจนขนาดที่ว่ามีอยู่ช่วงนึงในเมืองเบเซิ่ลของสวิสเซอร์แลนด์ ทางเมืองต้องออกมาประกาศแบนเก้าอี้ตัวนี้ในเมือง เพราะว่ามันบดบังความสุนทรียภาพของตัวเมือง
 
เก้าอี้โมโนบล็อค
 
และเหมือนกับทุกๆ อย่างบนโลก เก้าอี้ตัวนี้ก็มีที่มาที่ไปของมัน เก้าอี้ตัวนี้เริ่มมีที่มาจากเก้าอี้พลาสติกตัวแรกที่ถูกคิดค้น โดยที่เป็นพลาสติกตัวเดียวทั้งชิ้น ไม่ได้มีส่วนต่อเติม หรือ ตกแต่ง แต่อย่างใด โดยคนออกแบบเป็นนักออกแบบจากแคนาดา ชื่อว่า ดักลาส ซี. ซิมป์สัน (Douglas C. Simpson)
 
เมื่อปี 1946 แต่ตอนนั้นเองการที่จะผลิตเก้าอี้พลาสติกในปริมาณที่มากก็ยังถือว่าแพงอยู่มาก และ คนก็ยังมองว่าเก้าอี้ตัวนี้มันแปลกและพิลึก พูดง่ายๆ คือมาเร็วเกินไป แต่ในปี 60 ศิลปินและนักออกแบบเริ่มที่จะเข้ามาสนใจในตัวเก้าอี้พลาสติกที่ใช้พลาสติกหลอมชิ้นเดียวมากขึ้นเรื่อยๆ
 
ผลงานที่ดังขึ้นมาก็จะมีอย่าง เก้าอี้โบลฟิงเกอร์ (Bolfinger Chair) ของ เฮลมุต แบซ์เนอร์ (Helmut Bätzner) และ เก้าอี้ยูนิเวอร์แซล (Chair Universale) ของ โจ โคลอมโบ (Joe Colombo) เลยทำให้เก้าอี้พลาสติกเริ่มมีบทบาทมากขึ้น
 
เก้าอี้โบลฟิงเกอร์ ของเฮลมุต แบซ์เนอร์
 
แต่เก้าอี้ที่มีอิทธิพลกับเก้าอี้โมโนบล็อครุ่นปัจจุบันมากที่สุดและได้ถือว่าเป็นดีไซน์ที่สุดคลาสสิคอย่างนึงในสมัยนี้คือเก้าอี้ของ เวอร์เนอร์ แพนตั้น (Verner Panton) ชื่อว่า เก้าอี้แพนตั้น (Panton Chair)
 
ถึงแม้ว่ารูปร่างจะแตกต่างกันมาก แต่เหตุผลที่มันได้เป็นต้นกำเนิดของเก้าอี้โมโนบล็อคก็เพราะว่า เก้าอี้ตัวนี้ได้ทำมาจากเครื่องจักรที่หลอมพลาสติกเครื่องเดียวกันกับเก้าอี้โมโนบล็อคนั่นเอง เก้าอี้ตัวนี้จุดเด่นของมันก็คือการที่สามารถต่อเรียงกันได้ ทำให้ประหยัดพื้นที่ในบ้านซึ่งสมัยนั้นถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในบ้าน หลังจากนั้นไม่นานก็มีการดีไซน์เก้าอี้แบบคล้ายๆกันที่ทำมาจากเครื่องจักรตัวนี้ ด้วยความที่ราคาพลาสติกถูกลงอย่างมากทำให้เกิดเก้าอี้โมโนบล็อคในที่สุด
 
มีนักดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อว่า อองรี มาซ็องเน็ท (Henry Massonnet) ดีไซน์เก้าอี้โฟร์โทย ทาซอร์ (Fauteuil 300) ขึ้นมาในปี 1972 แต่ต้นกำเนิดของเก้าอี้โมโนบล็อครุ่นทุกวันนี้มาจากเก้าอี้ที่มีชื่อว่า เก้าอี้เรซิ่นการ์เด้น (Resin Garden Chair) ตอนปี 1983 หลังจากนั้นเก้าอี้ตัวนี้ก็ถูกขายเกลื่อนไปทั่วโลก ด้วยราคาที่แสนถูก
 
 
เก้าอี้ โฟร์โทย ทาชอร์ของ อองรี มาซ็องเน็ท
 
เก้าอี้ตัวนี้ถูกทำมาจากพัสดุที่มีชื่อว่า โพลีโพรพิลีน (Polypropylene) หลังจากนั้นก็ถูกนำไปใส่แม่พิมพ์เก้าอี้ในเครื่องจักร ซึ่งเอาเข้าไปหลอมในอุณหภูมิประมาณ 200 องศาสเซลเซียส หลังจากนั้นประมาณ 1 นาทีก็จะได้เก้าอี้โมโนบล็อคออกมาแล้ว 1 ตัว ซึ่งด้วยความที่มันทำมาจากพัสดุโพลีโพรพิลีน ทำให้เก้าอี้ตัวนี้สามารถยืดหยุ่นได้ และ สามารถเลือกสีได้ด้วย
 
ถึงแม้ว่าเครื่องจักรผลิตเจ้าเก้าอี้ตัวนี้จะแพงมากประมาณหลักล้าน ถึง สิบล้านขึ้นไป แต่ข้อดีของเครื่องจักรนี้คือการใช้แรงงานคนที่น้อย ประหยัดเวลา และ ต้นทุนของพลาสติกที่ถูกมาก ทำให้เครื่องจักรตัวนี้คุ้มค่ากับการลงทุน โดยเก้าอี้ตัวนี้มีน้ำหนักเพียงแค่ 2.5 กิโลกรัมทำให้มันเบามากที่จะเคลื่อนย้ายไปไหน และถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่บนโลกนี้จะเห็นเก้าอี้พลาสติก
 
ตัวนี้เป็นสีขาวแต่ในเอเชียเอง คนเอเชียนิยมหลายๆสี เช่น ที่เมืองจีนก็จะชอบใช้เก้าอี้นี้สีแดง ส่วนในมาเลเซียส่วนใหญ่ก็จะชอบใช้สีเขียว และในอินเดียเองก็จะชอบใช้สีน้ำเงิน ในเมืองไทยเองอย่างเก้าอี้พลาสติกในวัดก็จะเป็นสีขาว ไม่ก็สีแดง หรือแม้กระทั่งสีน้ำเงิน ที่สังเกตุเห็นได้ตามงานในวัด
 
เก้าอี้โมโนบล็อคหลากสี
 
เก้าอี้ตัวนี้อาจจะถือได้ว่าเป็นสินค้าตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในการเข้ามาของโลกาภิวัฒน์ เพราะการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมากจนมันกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายเลยในความคิดของหลายๆคน มันมีการโต้เถียงกันว่าเก้าอี้ตัวนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ยาวนาน และบางคนยังโต้ว่าเก้าอี้ตัวนี้เป็นการบริโภคจำนวนมากของมวลชน และทำให้เก้าอี้ตัวอื่นๆที่สร้างมาจากวัฒนธรรมของแต่ละประเทศความแตกต่างนี้ได้จางหายไป
 
แต่เราก็สามารถมองได้อีกเหมือนกันว่า เก้าอี้ตัวนี้มันถูกใช้กันอย่างทั่วโลกเพราะว่าราคามันถูก และทุกคนสามารถซื้อมันได้ ซึ่งสิ่งนี้เองก็คือเครื่องหมายที่ดีในการพูดเรื่องของความเท่าเทียมกันในสังคม และความก้าวหน้าของเศรษฐกิจในทั่วโลก 
 
โดย ทิวัตถ์ ชุติภัทร์ 
ขอบคุณภาพจาก Catwiki, Chefresby, Modern Magazine, Pinterest, และ โรงพยาบาลเวชธานี
Visitors: 1,199,221