กิตันจาลี เรา เด็กแห่งปีคนแรกของนิตยสารไทม์

กิตันจาลี เรา เด็กแห่งปีคนแรกของนิตยสารไทม์
 
 
กิตันจาลี เรา อายุ 15 ปีเด็กนักเรียนชั้น ม.4 ที่ชานเมืองเดนเวอร์รัฐโคโรลาโด สหรัฐคือ เด็กแห่งปีคนแรกของนิตยสารไทม์ โดยเธอได้รับเลือกจากรายชื่อที่เสนอมากว่า 5 พันคน กิตันจาลีเป็นนักวิทยาศาสตร์น้อยที่สร้างเครื่องตรวจจับปรอทในน้ำดื่ม ใช้ปัญญาประดิษฐ์แก้ปัญหาการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และแก้ปัญหาติดยาแก้ปวด
 
 
กิตันจาลี ให้สัมภาษณ์ว่า “ฉันไม่เคยคิดฝันว่าจะได้รางวัลนี้ ฉันรู้สึกขอบคุณและตื่นเต้นที่เรากำลังให้ความสนใจกับคนรุ่นต่อไปและคนรุ่นเราเพราะอนาคตอยู่ในมือของพวกเรา”
 
นิตยสารไทม์ระบุในแถลงการณ์ว่า ต้องการให้รางวัลนี้เพื่อให้ความสำคัญกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ของอเมริกาที่เป็นดาวรุ่ง โดย กิตันจาลี มีความโดดเด่นในการสร้างประชาคมนวัตกรรุ่นหนุ่มสาวของโลกและเป็นแรงบันดาลใจให้เดินหน้าสู่เป้าหมาย นิตยสารไทม์ให้รางวัลบุคคลแห่งปีมานาน 92 ปีและผู้คนที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รางวัลนี้คือ เกรตา ทันเบิร์ก กิจกรรมด้านสภาพอากาศชาวสวีเดนที่ได้รางวัลนี้เมื่อปีที่แล้วตอนที่เธออายุ 16 ปี
 
กิตันจาลี ให้สัมภาษณ์กับ แองเจลีน่า โจลี่ว่า ตอนที่เธออายุ 10 ขวบเธอบอกกับพ่อแม่ว่าเธอต้องการทำวิจัยเรื่องเทคโนโลยีเซนเซอร์ท่อนาโนคาร์บอน ที่ห้องแลบวิจัยคุณภาพน้ำของเดนเวอร์ จนแม่เธออุทานออกมาว่า “อะไรนะ”
 
กิตันจาลี บอกว่าเธอสนใจวิทยาศาสตร์เพราะต้องการทำให้สภาพสังคมดีขึ้น วิกฤตน้ำดื่มปนเปื้อนที่เมืองฟลินท์ ในรัฐมิชิแกน ทำให้เธออยากพัฒนาเครื่องตรวจจับสารปนเปื้อนในน้ำดื่มตอนที่เธออายุ 12 ปีเธอได้ทำเครื่องที่มีชื่อว่า Tethys ซึ่งใช้ท่อคาร์บอนนาโนตรวจจับสารปรอทในน้ำและส่งค่าสถานะน้ำไปที่แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือซึ่งแบ่งออกเป็น ปลอดภัย ปนเปื้อนเล็กน้อย และ วิกฤต
 
กิตันจาลี ไม่ได้หยุดแค่นั้นเธอได้คิดแอพพลิเคชั่นและ Chrome ­extension ที่มีชื่อว่า Kindly ที่จะใช้ตรวจจับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือAI โดย กิตันจาลีบอกว่าเธอเริ่มใส่ hard-code ในคำบางคำที่มองว่าเป็นการกลั่นแกล้ง จากนั้น AIจะนำคำนั้นไปหาคำที่คล้ายๆกัน เมื่อเราพิมพ์คำหรือวลีนั้นเมื่อเครื่องตรวจจับได้จะให้ทางเลือกว่าจะปรับคำนั้นหรือจะส่งไปอย่างนั้นเลย เป้าหมายไม่ได้ต้องการลงโทษ กิตันจาลีบอกว่าในฐานะที่เธอเป็นวัยรุ่นเธอรู้ว่าบางครั้งก็มีความตั้งใจที่อยากจะฟาดฟัน แต่แอพนี้จะให้โอกาสในการคิดทบทวนสิ่งที่เราคิดและจะโพสต์ไป
 
นวัตกรรมอีกอย่างทีเธอทำคืออุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Epione ที่จะช่วยตรวจจับอาการติดยาแก้ปวดซึ่งเป็นยาตามแพทย์สั่งในระยะเริ่มต้นโดยคนที่ติดเริ่มจากมีอาการปวดจากนั้นแพทย์สั่งยาแก้ปวดเมื่อใช้ไปเรื่อยๆก็จะเกิดอาการติดซึ่งที่ผ่านมาแพทย์ไม่มีเครื่องมือตรวจจับอาการติดในระยะต้นอาศัยดูจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
 
กิตันจาลี ได้ร่วมมือกับโรงเรียนในชนบท พิพิธภัณฑ์ หน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ในการทำเวิร์คชอปกับนักเรียนหลายพันคน โดยเธอย้ำว่าไม่สำคัญว่าสิ่งที่เริ่มทำจะเล็กน้อยแค่ไหน ตราบใดที่รักที่จะทำและอย่าพยายามที่จะแก้ทุกปัญหาแต่ให้มุ่งไปที่สิ่งเดียวที่สนใจ ถ้าเธอทำได้ใครก็ทำได้
 
กิตันจาลีบอกว่าเป้าหมายของเธอไม่เพียงแต่ต้องการสร้างอุปกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาของโลกแต่ต้องการเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำตามเพราะจากประสบการณ์มันไม่ง่ายเลยเวลาที่มองไปที่มองไม่เห็นคนที่ทำเหมือนๆกัน กิตันจาลีบอกว่าเวลาพูดถึงซูเปอร์ฮีโร่ก็มักนึกถึงคนที่กระโดดขึ้นตึกสูง มีอุปกรณ์เครื่องเล่นที่ทันสมัยและมีพลังพิเศษ แต่สิ่งที่ซูเปอร์ฮีโร่มีเหมือนกันคือความสามารถในการช่วยชีวิตผู้คนและมักปรากฎตัวได้ทันเวลาในการช่วยชีวิตด้วย นักวิทยาศาสตร์ที่มีชีวิตมีลมหายใจอยู่จริงมีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับซูเปอร์ฮีโร่ในการ์ตูน กิตันจาลีบอกว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนนักวิทยาศาสตร์จะหาทางช่วยเหลือผู้คนได้และเธอรักวิทยาศาสตร์ เธออยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่แก้ปัญหาในโลกความเป็นจริงและช่วยชีวิตผู้คน งานเหล่านี้กำลังจะตกมาอยู่ในมือของคนรุ่นเธอในไม่ช้า ถ้าไม่มีใครทำเธอจะทำมันเอง
 
ที่มา : หลังเลนส์รอบโลกกับชัยรัตน์ ถมยา https://www.blockdit.com/chairatthomya
Visitors: 1,217,158