กาแฟดอยตุงได้รับขึ้นทะเบียน GI ในกัมพูชา

กาแฟดอยตุงได้รับขึ้นทะเบียน GI ในกัมพูชาแล้ว คาดสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายตลาดส่งออก

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เผย ‘กาแฟดอยตุง’ ได้รับขึ้นทะเบียน GI ในกัมพูชาแล้ว คาดสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายตลาดส่งออกในกัมพูชา ด้าน รมว.พาณิชย์ เผยเตรียมเปิดตลาดในญี่ปุ่น ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาการขึ้นทะเบียน GI ในญี่ปุ่น พร้อมยกให้กาแฟดอยตุงเป็นต้นแบบ Social Enterprise ช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้คนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

วันที่ 13 พ.ย.2563 นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ล่าสุดสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญากัมพูชาได้ประกาศรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “กาแฟดอยตุง” เป็นสินค้า GI ในกัมพูชา โดยคาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายธุรกิจไปยังประเทศกัมพูชา ทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในกัมพูชาที่จะได้ดื่มกาแฟดีมีคุณภาพอย่างกาแฟดอยตุง ทั้งนี้ อนาคตเตรียมเปิดตลาดในญี่ปุ่น พร้อมเดินหน้ายื่นคำขอ GI ในญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา หากขึ้นทะเบียน GI สำเร็จจะเป็นการขยายตลาดส่งออกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งต่อไป

นายวีรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กาแฟดอยตุง เป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิกาลูกผสม ปลูกในพื้นที่ป่าเขียวชอุ่มในโครงการพัฒนาดอยตุงบนเทือกเขานางนอน จังหวัดเชียงราย ที่ระดับความสูง 800 ถึง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากปัจจัยดังกล่าวทำให้กาแฟดอยตุงมีรสชาติกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอมหวานจากผลไม้ มีรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อยแต่ไม่เปรี้ยวจัด มีเนื้อสัมผัสและรสชาติกำลังดี จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักดื่มกาแฟ และมีผู้สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์กาแฟดอยตุงเพื่อนำไปต่อยอดเชิงธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังระบุว่า กาแฟดอยตุง คือการเป็นต้นแบบของธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน อีกทั้งให้ความสำคัญกับการควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้า GI ผ่านการขออนุญาตใช้ตรา GI กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้คงไว้ซึ่งรสชาติที่มีอัตลักษณ์ของกาแฟดอยตุง พร้อมนี้ ได้กล่าวเชิญชวนผู้ประกอบการ GI ให้นำแนวปฏิบัติของกาแฟดอยตุงเป็นต้นแบบในการปรับใช้ขับเคลื่อนสินค้า GI ของตน เพื่อสร้างเม็ดเงินกลับสู่ชุมชน และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการขึ้นทะเบียน GI ไทยในต่างประเทศ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่รัฐบาลมุ่งผลักดันเพื่อสร้างรายได้และเพิ่มโอกาสในตลาดต่างประเทศให้กับชุมชนท้องถิ่น ปัจจุบันมีสินค้า GI ไทยที่ขึ้นทะเบียนในต่างประเทศถึง 6 รายการ ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศ ได้แก่ ประเทศในสหภาพยุโรป (EU) อินเดีย

Visitors: 1,198,331