Coca-Cola เปิดตัวต้นแบบขวดกระดาษเป็นครั้งแรกเพื่อลดขยะเหลือใช้
Coca-Cola เปิดตัวต้นแบบขวดกระดาษเป็นครั้งแรกเพื่อลดขยะเหลือใช้
หลายปีที่ผ่านมามีการรณรงค์เรื่องการลดขยะเหลือใช้ โดยเฉพาะบรรจุภัณท์ ที่หลายๆ บริษัท เริ่มนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อให้บรรจุภัณท์เหล่านั้นย่อยสลายได้เอง
และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ต่อไปเราอาจได้ดื่มโค้กจากขวดกระดาษในอนาคต เมื่อล่าสุดบริษัท โคคา - โคลาได้ร่วมมือกับห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรม ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมเพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ทำจากกระดาษ
แนวคิดใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่ม โลกไร้ขยะ (World Without Waste) ของทาง บริษัท Coca-Cola โดยใช้วัสดุหลักเป็นกระดาษ เพื่อให้มันสามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
ในเว็บไซต์ของบริษัท Coca-Cola เผยต้นแบบขวดกระดาษชิ้นแรก
ที่ทาง Coca-Cola กำลังดำเนินการผลิตขวดที่ทำจากกระดาษ 100% ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ ที่เริ่มจากนวัตกรรมใหม่ที่อาจช่วยให้ประสบความสำเร็จ เพื่อก้าวไปสู่ โลกที่ปราศจากขยะ (World Without Waste) ในวิดีโอตัวใหม่นี้ เสนอภาพในห้องทดลองเพื่อชมความคืบหน้าในการผลิตขวดที่ทำจากกระดาษดังกล่าว ชมคลิปได้ที่ .....
เยี่ยมชม
https://www.youtube.com/watch?v=3xmZQFL-Wmk&feature=youtu.be
YOUTUBE.COM
Introducing our first Paper Bottle Prototype
At Coca-Cola, we are working to create a bottle made 100% from paper – an innovative packaging technology that may help us achieve a World Without Waste. In ...
ลองนึกภาพโลกที่บรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้นที่ผลิตและจำหน่ายออกไปแล้วได้มีรวบรวมและรีไซเคิลหลังการใช้งานจนหมด - โลกที่ปราศจากขยะ (World Without Waste) นั่นคือเป้าหมายที่ตั้งไว้
Coca-Cola เคยมีข้อตกลงร่วมกันเรื่อง World Without Waste ที่ Coca-Cola เคยให้ไว้ คือการสร้างโลกที่บรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นที่ขายออกไปนั้น สามารถเก็บกลับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทั้งหมด ซึ่ง Coca-Cola อยากให้บริษัทไปถึงจุดนั้นให้ได้ภายในปี 2573
ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาต้นแบบ ยังไม่มีการเปิดเผยวันที่จะเปิดตัวขวดกระดาษอย่างชัดเจน ซึ่งยังเป็นต้นแบบรุ่นแรก
ต้นแบบรุ่นแรกสร้างขึ้นโดยใช้กระดาษเป็นเปลือกหุ้มภายนอก ที่ด้านในจะยังคงมีชั้นพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้บางๆ ใส่ไว้เพื่อเก็บของเหลวอีกที แม้ว่าต้นแบบแนกนี้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่ทาง Coca-Cola เชื่อว่าจะสามารถพัฒนาขวดกระดาษที่ไม่จำเป็นต้องมีชั้นพลาสติกด้านในได้ในอนาคต
ที่มา : 108Thing :https://www.blockdit.com/articles/5fa090c3355c4a0f49353427/#
|