ตำนาน : เทพแมว (Bastet)

ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า "Bastet" (เทวีบัสเตต)
ซึ่งมีตัวเป็นคน แต่มีหัวเป็นแมว เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์
 
เราต้องขอบคุณชาวอียิปต์โบราณที่ช่วยให้เราได้กลายเป็นทาสแมว คอยปรนนิบัติรับใช้มันอยู่ทุกวันนี้ หลักฐานจากดีเอ็นเอพบว่าแมวป่าตัวแรก
“ได้เข้ามาเป็นแมวบ้านด้วยตัวเอง” (ข้าเลือกพวกเจ้าแล้วเหล่ามนุษย์) ในแถบตะวันออกใกล้กับอียิปต์เมื่อราว 10,000 ปีก่อน เจ้าแมวตัวลายรอนแรม
เข้ามาในสังคมเกษตรยุคแรกเริ่มเพื่อกินหนูที่กัดกินพันธุ์พืชในไร่เกษตรและวนเวียนอยู่ในบริเวณนั้นเพื่อเศษอาหารฟรีจนถูกลูบหลังโดยมนุษย์ผู้มีเมตตา
 
 
แล้วแมวมาจากไหน?
แมวมีชื่อเรียกทั่วไปในภาษาลาตินว่า "เฟลิส คาตัส" (Felis Catus) เป็นสัตว์เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ แมวมีอยู่ในทุกทวีป รูปร่างลักษณะและโครงสร้างคล้ายคลึงกัน แต่ขนาดอาจผิดกันและความยาวของขนต่างกัน แมวเมืองหนาวมีขนยาวกว่าแมวในเมืองร้อน แมวที่นิยมเลี้ยงกันมีหลายพันธุ์ เช่นพันธุ์เปอร์เซีย และพันธุ์ไทยเป็นต้น
 
ชาวตะวันตกเชื่อว่าแมวนั้นเดิมเป็นสัตว์ในแอฟริกา ชาวอียิปต์นำมาเลี้ยงไว้ในบ้าน แมวจึงอยู่กับคนเรื่อยมา จนในที่สุด เผ่าพันธุ์ของแมวก็กระจายไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก แมวพันธุ์แรกคือ อบิสซีเนียขายาว หน้าแหลมยาว ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะออกไปต่างๆ นานาตามหลักทางชีววิทยา แต่แมวที่ยังคงลักษณะรูปเดิม คือมีรูปร่างเพรียว หน้าแหลม ตาคม สันนิษฐานว่าเหลือเพียงสามพันธุ์ในโลก คือ แมวอบิสซิเนียน แมวอียิปต์ และแมวไทย
 
แมวทั้งสามพันธุ์นี้หน้าตาไม่แตกต่างกันมากนัก สองชนิดแรกสัญนิฐานว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว คงเหลือแต่"แมวไทย"ที่นับเป็นพันธุ์เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่พันธุ์เดียว บรรพบุรุษของแมวไทยน่าจะเป็นแมวอียิปต์ เพราะมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันมาก โดยที่ทางอียิปต์เรียกแมวว่า "เมียว" มีข้อสันนิษฐานการมาของแมวมายังแถบตะวันออกว่าว่า ในการเดินเรือการค้าสมัยโบราณจากอียิปต์มายังแถบตะวันออก อาจจะมีกะลาสีเอาแมวใส่ไว้ในเรือเพื่อจับหนู แมวอียิปต์จึงมาเผยแพร่ถึงทางตะวันออกก็เป็นได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันในสมมติฐานข้อนี้ได้
 
 
 
นักชีววิทยาค้นพบว่า บรรพบุรุษของแมวถือกำเนิดขึ้นกว่า 50 ล้านปีมาแล้ว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกินเนื้อเป็นอาหาร เรียกว่า Miacis และได้วิวัฒนาการขั้นมาจนเริ่มมีลักษณะคล้ายแมวเมื่อ 10 ล้านปีก่อน มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับแมวป่าที่มีเขี้ยวขนาดใหญ่ เรียกว่า Dinistis
 
ต้นตระกูลของแมวบ้านจริงๆนั้น แยกออกมาจากตระกูลของ เสือไซบีเรียน และแมวพื้นเมืองต่างๆ ในปัจจุบันสายพันธุ์แมวถูกรวบรวมไว้ถึง 36 ตระกูล 51 ชนิด (รวมทั้งสิงโตและเสือต่างๆด้วย)
 
ต่อมาถึงยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,000 กว่าปีก่อน พวกชาวนาได้นำแมวป่า (แมวพื้นเมืองของอียิปต์) มาฝึกให้เชื่อง เพื่อใช้จับหนูในโรงนาและเมื่อหนูในโรงนาหมดไป ก้อทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์มีความเสียหายน้อยลง ประชาชนก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น และไม่มีโรคภัยที่เกิดจากหนูอีกด้วยชาวอียิปต์จึงนับถือแมวเป็นสัตว์เทพเจ้าชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า "Bastet" (เทวีบัสเตต) ซึ่งมีตัวเป็นคน แต่มีหัวเป็นแมว เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์
 
นอกจากชาวอียิปต์จะใช้แมวจับหนูในโรงนาแล้ว ยังใช้แมวจับหนูบนเรือสินค้าอีกด้วย ตรงจุดนี้ เลยเกิดความเชื่อว่า เมื่อเรือเทียบท่า แมวก็ลงจากเรือ แต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือจึงทำให้แมวขนาดพันธุ์ไปทั่วโลก
 
แต่ระดับความรักที่ชาวอียิปต์โบราณแสดงต่อแมวนั้นไปไกลกว่าการเป็นเจ้าของด้วยความรักอันอบอุ่นมาก กว่าพันปีแล้วที่แมวในอียิปต์พัฒนาจากการเป็นนักล่าในหมู่บ้านที่มากประโยชน์ไปสู่การเป็นร่างจำแลงแห่งเทพและสัญลักษณ์แห่งการปกป้องจากสวรรค์
 
“ชาวอียิปต์มองแมวในวิถีเดียวกับที่พวกเขามองไปยังทุกสิ่ง เช่นเดียวกับวิธีการอธิบายและสร้างภาพสมมติของจักรวาล” อธิบายโดยนักอียิปต์วิทยาเมลินดา ฮาร์ตวิก (Melinda Hartwig) แห่ง Emory University’s Michael C. Carlos Museum ในแอตแลนตา
 
ฮาร์ตวิกต้องการทราบสิ่งหนึ่งให้แน่ชัด แม้ว่าชาวอียิปต์จะไม่ได้นับถือบูชาแมวราวกับเทพเจ้าแต่พวกเขาก็เชื่อว่าแมวครอบครองพลังจากเทพไว้ในตัวพวกมันเล็กน้อย ความเชื่ออันแพร่หลายมีอยู่ว่า แมวบ้านได้ถือครองแก่นแท้ของเทพบาเตส [Bastet หรือบาสต์ (Bast)] เทพเจ้าผู้มีศีรษะเป็นแมว ซึ่งเป็นตัวแทนของการเจริญงอกงาม ชีวิตครอบครัว ดนตรี การเต้นรำ และความเพลิดเพลิน
 
สำหรับเหตุผลที่แมวได้รับการปกป้องและเคารพบูชาก็เพราะเทพบาเตสมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นช่วงยุคศตวรรษที่สองก่อนสากลศักราช มีการระบุโทษสำหรับผู้ที่ฆ่าแมวแม้จะจงใจหรือเกิดขึ้นด้วยอุบัติเหตุก็ตาม อีกทั้งยังมีเครื่องประดับและเครื่องรางที่เป็นภาพแทนของแมว ซึ่งจะถูกสวมใส่โดยทั้งชายและหญิงเพื่อเป็นเครื่องรางในการปกป้องบ้านและนำพาโชคดีมาให้ในช่วงระหว่างที่ให้กำเนิดบุตร เครื่องประดับจิวเวลรี่รูปแมวจึงกลายเป็นที่นิยมสำหรับการให้เป็นของขวัญปีใหม่
 
 
สิ่งที่น่าประหลาดใจมากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับนักโบราณคดีสมัยใหม่ก็คือ จำนวนที่แท้จริงของแมวซึ่งถูกทำมัมมี่ ซึ่งถูกขุดค้นจากสถานที่ฝังศพทั่วทั้งอียิปต์ ทั้งที่ถูกรวมกันนับร้อยนับพันที่สุสานแห่งซัคคาร่า (Saqqara) และที่วิหารเทพบาเตส (Temple of Bastet) ในเทลล์-บาสตา (Tell-Basta) ซึ่งเป็นสถานที่หลักสำหรับการบูชาเทพบาเตสและยังเชื่อว่าเหล่านักบวชใช้ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ในการทำการค้าขายมัมมี่แมวที่เจริญรุ่งเรืองมากๆ ด้วย
 
“มัมมี่แมวจะถูกขายให้กับผู้แสวงบุญซึ่งเดินทางมาที่วิหารของเทพบาเตสเพื่อให้ได้รับพลังของเทพกลับไปสักเล็กน้อย” กล่าวโดย ฮาร์ตวิก “พวกเขามักแสวงหาความนิยมในนามของผู้สวดภาวนา ซึ่งรู้จักในนามของ คำปฏิญาณ”
 
ฮาร์ตวิกกล่าวว่า มัมมี่แมวมากมายอยู่รอดมาได้นานนับศตวรรษ เนื่องจากการทำลายพวกมันเป็นเรื่องต้องห้ามในสังคมอียิปต์โบราณเพราะว่าพวกมันถูกบรรจุไปด้วยเศษส่วนวิญญาณของเทพบาเตส ดังนั้นพวกมันจึงถูกฝังไว้ในห้องฝังศพและในสุสานชั้นรอง การขุดค้นในพีระมิดอันแสนซับซ้อน ณ ซัคคาร่า ได้ค้นพบมัมมี่แมวหลายสิบตัว โดยบางตัวถูกฝูงอยู่ในโรงศพหินปูนด้วย
 
ในเรื่องของโรงศพนั้น ฮาร์ตวิกกล่าวว่า โรงศพจะมีไว้สำหรับสัตว์เลี้ยงในครอบครัว ซึ่งมันตายลงโดยธรรมชาติ และการทำมัมมี่เป็นการทำให้พวกมันไปอยู่ร่วมกับเจ้าของของพวกมันในชีวิตหลังความตาย นอกจากนี้ยังมีอารามอีกมากที่ใช้แมวและลูกแมวเพื่อบวงสรวงและทำมัมมี่สำหรับพิธีกรรมในวัด แมวปรากฎบ่อยครั้งในจิตกรรมฝาผนังและศิลปวัตถุของอียิปต์โบราณ มีทั้งรูปหล่อสัมฤทธิ์ของแม่แมวให้นมลูกสี่ตัว และประติมากรรมหินปูนขนาดใหญ่รูปสิงโตนั่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “แมวแห่งเทพ (Divine Felines )” ซึ่งจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ Carlos Museum. แต่จากข้อมูลจำนวนมากที่เรามีเกี่ยวกับความเลื่อมใสในแมวของชาวอียิปต์ได้รับมาจากนักประวัติศาสตร์โบราณชาวกรีกนาม เฮอรอโดทัส (Herodotus) ซึ่งเขียนไว้เมื่อศตวรรษที่ 4 ก่อนสากลศักราช
 
ฮาร์ตวิกไม่แน่ใจว่าเรื่องราวจากเฮอรอโดทัสจะสามารถเชื่อถือได้มากเพียงใด แต่ก็มีเรื่องราวจากเฮอรอโดทัสมากมายที่น่าสนใจ และมีความเชื่อมโยงกับหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น ครอบครัวชาวอียิปต์จะโกนขนคิ้วถ้าแมวของพวกเขาเสียชีวิตโดยธรรมชาติ และจะโกนขนทั่วทั้งร่างกายถ้าสุนัขของพวกเขาตาย และถ้าม้าของพวกเขาถูกไฟคลอก เฮอรอโดทัสเล่าว่า พวกผู้ชายจะไม่พยายามไปดับไฟแต่พวกเขาจะมุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่การช่วยชีวิตแมวและหยุดพวกมันไม่ให้เข้าไปยุ่งกับไฟ เฮอรอโดทัสยังเผยแพร่เรื่องราวอันเต็มไปด้วยสีสันของการบุกรุกจากเปอร์เซียสู่อียิปต์ในช่วง 525 ปีก่อนสากลศักราชด้วย
 
เมื่อกษัตริย์เปอร์เซีย พระเจ้าแคมไปซีสที่ 2 (Cambyses II) วางแผนการหันเหความสนใจของชาวอียิปต์ผู้รักแมว ในระหว่างการต่อสู้ในสมรภูมิ เฮอรอโดทัสเขียนไว้ว่า พระเจ้าแคมไปซีสที่ 2 ให้วาดภาพแมวติดไว้บนโล่ทหารของเขาและใช้ฝูงแมวจำนวนมากและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ นำหน้ากองทัพของเขา ชาวอียิปต์จึงเกรงกลัวว่าพวกเขาจะฆ่าสัตว์เหล่านั้นและกระทำผิดต่อเทพบาเตส ดังนั้นพวกเขาจึงยอมจำนนต่อทหารเปอร์เซียโดยง่าย (อย่างนี้ก็ได้หรอ)
 
 
 
นอกจากชาวอียิปต์จะใช้ แมวจับหนูในโรงนาแล้ว...ยังใช้ แมวจับหนูบนเรือสินค้าอีกด้วยตรงจุดนี้ เลยเกิดความเชื่อว่า...
 
เมื่อเรือเทียบท่า แมวก็ลงจากเรือ แต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือจึงทำให้แมวขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ชาวอียิปต์โบราณนั้นนับถือแมว
ถึงขนาดแมวในบ้านตาย ยังต้องนำไปทำมัมมี่เลย (มัมมี่คนจะทำเฉพาะราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น)
มัมมี่แมวสามารถหาดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ ในเมื่อแมวเป็นสัตว์เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ จึงมีกฎ หากใครฆ่าแมว
จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก พวกที่ต้องการยึดครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ จึงใช้วิธีชั่วร้าย "อุ้มแมวไปรบ"
 
แล้วพวกทหารอียิปต์จะสู้ได้อย่างไร ?
(เป็นส่วนหนึ่งของการรบ... อียิปต์ไม่ได้ล่มสลายเพราะแมว)
แต่ถึงอียิปต์โบราณจะล่มสลายไปแล้ว ชาวอียิปต์ในสมัยก่อนยังนับถือบูชาแมวเหมือนเดิม ขนาดชาวโรมันบางคน
(สมัยนั้นโรมันปกครองอียิปต์) ฆ่าแมวยังถูกพวกอียิปต์ลงโทษเลย ต่อมาเข้าสู่ยุคกลางในยุโรป มีความเชื่อเรื่องแม่มด และความชั่วร้ายต่างๆ
 
ชาวยุโรปในยุคนี้กล่าวหาว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด (โดยเฉพาะแมวดำ)
ดังนั้น... ใครเลี้ยงแมว จะถูกประณามว่าเป็นแม่มดร้าย ยิ่งเป็นคนแก่เลี้ยงแมวยิ่งแล้วใหญ่ พวกนี้มักจะโดนเผาทั้งเป็น ทั้งคนและแมว
ดังนั้น...เมื่อแมวน้อยลง จึงทำให้มีหนูมากขึ้น ทำให้กาฬโรคระบาดหนักในยุโรปช่วงนั้น
 
 
ในยุคใกล้ๆกัน แถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นกับจีน เริ่มเลี้ยงแมวกันมากขึ้น จากเดิมที่เคยเลี้ยงอยู่แล้ว และที่ญี่ปุ่นก็ยังใช้แมวเป็นสัญลักษณ์นำโชค
อีกด้วย จะเห็นได้จาก "แมวกวัก" ที่ใช้กันตามร้านค้า จะใช้กวักลูกค้า หรือกวักเงินก็แล้วแต่ท่าทางของแมวตัวนั้น และที่จีนก็เชื่อว่า แมวเป็น
สัตว์นำโชค
 
เพราะว่าแมวจะเข้ามาอยู่ในบ้าน ก็ต่อเมื่อมันพอใจที่จะอยู่เท่านั้น เมื่อมันเข้ามาชาวจีนจะเลี้ยงดูมันด้วยอาหารเพื่อให้มันอยู่กับพวกเขานานๆ
 
 
ขอขอบคุณ BBC NEW
ที่มา : ไร้สาระ เรื่อยไป https://www.blockdit.com/articles/5f81c56f9a5cbc0cc45480f3/#
 
Visitors: 1,413,287