ผ่าอาณาจักร ยาดม ความหอมสไตล์ไทย ที่สร้างรายได้ทะลุ 3 พันล้าน
ผ่าอาณาจักร ‘ยาดม’ ความหอมสไตล์ไทย ที่สร้างรายได้ทะลุ 3 พันล้าน
ผ่าอาณาจักร "ยาดม" ของไทย ธุรกิจความหอมที่ทำให้มีผู้เข้ามาช่วงชิงตลาดนี้อย่างคึกคัก ทั้งเจ้าตลาดอย่างโป๊ยเซียน และเซียงเพียว รวมถึงแบรนด์อื่นๆ ที่โกยรายได้ในปี 2561 รวม 3.3 พันล้านบาท
ผ่าอาณาจักร ‘ยาดม’ ความหอมสไตล์ไทย ที่สร้างรายได้ทะลุ 3 พันล้าน
“ยาดม” หนึ่งในสิ่งของที่ติดตัวคู่คนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเวลาที่วิงเวียนศีรษะ หลายคนก็จะหยิบยาดมหลากสไตล์ขึ้นมาสูดดม ไม่ว่าจะเป็นยาดมแท่งหรือยาดมน้ำ ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายแบรนด์ แต่ที่เรามักจะคุ้นหู คุ้นตากันบ่อยๆ ก็คงจะหนีไม่พ้น 2 ยี่ห้อดัง ไม่ว่าจะเป็นยาดมตรา “โป๊ยเซียน” ที่มาพร้อมสโลแกนสั้นๆ ตรงไปตรงมาอย่าง ใช้ดมใช้ทาในหลอดเดียวกัน และ “เซียงเพียว” หรือชื่อเดิม “เซียงเพียวอิ๊ว” ยาดม ยาหม่องกล่องสีแดง นอกจากนี้ยังมียี่ห้ออื่นๆ ที่ผลิตออกมาเจาะกลุ่มตลาดอีกจำนวนมาก
ขณะเดียวกันวันนี้ภาพของการเติบโตของธุรกิจยาดม ไม่ได้ผลิตใช้กันแค่ในไทยเท่านั้น เพราะทุกวันนี้ ยาดมบ้านเรายังฮ็อตฮิตกลายเป็นไอเทมเด็ดที่นักท่องเที่ยวมาไทยต้องหอบหิ้วข้ามน้ำข้ามทะเลไปเป็นของฝากอีกด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ แน่นอนว่าส่งผลให้อุตสาหกรรมยาดมของไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว
“กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” จะพาไปสำรวจตลาด “ยาดม” ในประเทศไทยกันให้มากขึ้น นอกเหนือจาก 2 เจ้าใหญ่ที่ครองตลาดแล้ว ยังมีแบรนด์ใดอีกบ้างที่เข้ามาลงสนามนี้บ้าง? และแต่ละรายโกยรายได้กันไปเท่าไร
โดยจากการสำรวจของ Ac Nielsen ระบุว่า ตลาด "ยาดม" ของไทยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3,300 ล้านบาทต่อปี และจากการสำรวจพบว่า ประชากรราว 70 ล้านคน ใช้ยาดมอย่างน้อย 10% และในหนึ่งเดือนใช้อย่างน้อย 2 หลอด ขณะที่ "ยาหม่องน้ำ" ของไทย ในช่วงปี 2561 มีมูลค่าราวกว่า 1,000 ล้านบาท
“โป๊ยเซียน” โกยรายได้ทะลุพันล้าน
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า หนึ่งในเจ้าตลาด “ยาดม” ในประเทศไทย คือ “โป๊ยเซียน” (POY-SIAN) ดำเนินการภายใต้ บริษัท โกลด์ มิ้นท์ โปรดักส์ จำกัด ของ "ตระกูลลาภบุญทรัพย์" ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทขึ้นเมื่อปี 2532 หรือราว 31 ปีก่อน ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 30 ล้านบาท
โป๊ยเซียน
จากเริ่มแรกราวปี 2479 เป็นร้านขายยาสมุนไพรเล็กๆ ตั้งอยู่ย่านเยาวราช กรุงเทพฯ ขายทั้งยาสตรีตราโป๊ยเซียน ยาน้ำเอียจับ และยาน้ำส้ม ต่อมามีการพัฒนาสูตรยาดม “พีเพ็กซ์” (Pe-Pex) ปัจจุบันก็ยังมีขายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ประกอบกับมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงได้เป็นผลิตภัณฑ์ “ยาดมโป๊ยเซียน POY-SIAN” แบบ 2 in 1 ในแบบปัจจุบันที่ใช้ได้ทั้งดมและทาในหลอดเดียวกัน
ก่อนจะค่อยๆ พัฒนา ขยายไลน์สินค้ากระทั่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ราว 7 ชนิด ได้แก่ ยาดมตราโป๊ยเซียน ยาดมโป๊ยเซียนมาร์คทู (Mark II) พิมเสนน้ำตราโป๊ยเซียน (POY-SIAN) ยาหม่องผสมพญายอตราโป๊ยเซียน รวมถึงยาดมตราพีเพ็กซ์ (PE-PAX) และยาดมตราเพ็กซ์ (PAX) ที่เน้นทำตลาดต่างประเทศเป็นหลัก
เมื่อเจาะลึกไปที่รายได้ของบริษัท ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รายได้รวมของ บริษัท โกลด์ มิ้นท์ โปรดักส์ จำกัด ในปี 2562 อยู่ที่ 1,015.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 23.63% ที่มีรายได้อยู่ที่ 821.08 ล้านบาท
ขณะที่กำไรสุทธิของบริษัท ในปี 2562 อยู่ที่ 349.43 ล้านบาท สูงขึ้น 25.94% จากปีก่อนหน้าที่ได้กำไรสุทธิ 277.43 ล้านบาท
“เซียงเพียว” ยาดมกล่องแดงครองใจคนไทย
อีกหนึ่งแบรนด์ที่เมื่อเดินไปที่ร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยา มักจะเห็นบนชั้นวางเกือบทุกแห่งและมีมาอย่างยาวนาน คือ แบรนด์เซียงเพียว หรือเป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์ ภายใต้การบริหารของบริษัท เบอร์แทรม (1958) จำกัด ที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทราวปี 2524 ด้วยทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ซึ่งจากข้อมูลของบริษัทระบุว่า จริงๆ แล้วนั้นยาดมของบริษัทเกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน แต่เข้ามาในประเทศไทยราว 62 ปีก่อน ยุคแรกเป็นยาหม่องน้ำสมุนไพรจีน ยี่ห้อ “เซียงเพียวอิ๊ว” และต่อมามีการรีแบรนด์เป็น “เซียงเพียว” ก่อตั้งโดย บุญจือ เอี่ยมพิกุล
เซียงเพียว
จนกระทั่งปี 2548 ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นยาดมแบรนด์เป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์ สะท้อนถึงความเติบโต บริษัทเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่ใช้มูลค่าการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท อีกทั้งมีการเพิ่มยาดมกลิ่นส้ม หรือยาหม่องเจล หรือยาหม่องแท่ง เพื่อเพิ่มความหลากหลาย รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ยาดม “แบล็ค อินเฮเลอร์” (Black Inhaler) ที่มีการออกแพคเกจจิ้งใหม่ สีดำ ดูสมาร์ท หวังตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่
และมีการแตกไลน์ธุรกิจ ทั้งการเปิดตัวสนามจักรยานเป๊ปเปิอร์มิ้นท์ ไบค์ ปาร์ค จักรยานเสือภูเขาใจกลางเมือง ย่านเลียบด่วนเอกมัย-รามอินทรา ร้านอาหารมิ้นท์ คาเฟ่ และสนามมิ้นท์ ด๊อก ยาร์ด อีกทั้งยังออกผลิตภัณฑ์อื่นๆ คือ เซียงเพียว รีลีฟ ครีม ครีมบรรเทาอาการปวดเมื่อย
แม้จะมีผลิตภัณฑ์ในครอบครองหลายแบรนด์ในหลากไลน์สินค้า แต่บริษัทเลือกที่จะส่งออก 2 สองแบรนด์หลัก ทั้ง "เซียงเพียว" และ "เป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์" ส่งออกไปกว่า 19 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ จีน โคลอมเบีย อังกฤษ โรมาเนีย เยอรมนี มองโกเลีย พม่า สปป.ลาว มอลโดวา มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง เวียดนาม และฟิลิปปินส์
เป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์
ขณะที่ตลาดในไทย บริษัทครองส่วนแบ่งของสินค้ายาดมราว 20% ครองอันดับ 2 ของประเทศ ขณะที่ยาหม่องน้ำครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 70%
สำหรับในเรื่องรายได้ เมื่อตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในปี 2562 บริษัท เบอร์แทรม (1958) จำกัด โกยรายได้รวมกว่า 1,461.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 5.68% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวมกว่า 1,383.02 ล้านบาท
ขณะที่กำไรสุทธิในปี 2562 อยู่ที่ 324.32 ล้านบาท แต่มีกำไรลดลงจากปีก่อนถึง 10.57% ที่ทำกำไรสุทธิอยู่ที่ 362.67 ล้านบาท
โดยปี 2561 สัดส่วนยอดขายยังคงเป็นแบรนด์เซียงเพียว 65% เป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์ 35% ซึ่งสัดส่วนการตลาดในประเทศ กับต่างประเทศอยู่ที่ครึ่งๆ
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892664?anb=
|
ผ่าอาณาจักร "ยาดม" ของไทย ธุรกิจความหอมที่ทำให้มีผู้เข้ามาช่วงชิงตลาดนี้อย่างคึกคัก ทั้งเจ้าตลาดอย่างโป๊ยเซียน และเซียงเพียว รวมถึงแบรนด์อื่นๆ ที่โกยรายได้ในปี 2561 รวม 3.3 พันล้านบาท
ผ่าอาณาจักร ‘ยาดม’ ความหอมสไตล์ไทย ที่สร้างรายได้ทะลุ 3 พันล้าน
“ยาดม” หนึ่งในสิ่งของที่ติดตัวคู่คนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเวลาที่วิงเวียนศีรษะ หลายคนก็จะหยิบยาดมหลากสไตล์ขึ้นมาสูดดม ไม่ว่าจะเป็นยาดมแท่งหรือยาดมน้ำ ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายแบรนด์ แต่ที่เรามักจะคุ้นหู คุ้นตากันบ่อยๆ ก็คงจะหนีไม่พ้น 2 ยี่ห้อดัง ไม่ว่าจะเป็นยาดมตรา “โป๊ยเซียน” ที่มาพร้อมสโลแกนสั้นๆ ตรงไปตรงมาอย่าง ใช้ดมใช้ทาในหลอดเดียวกัน และ “เซียงเพียว” หรือชื่อเดิม “เซียงเพียวอิ๊ว” ยาดม ยาหม่องกล่องสีแดง นอกจากนี้ยังมียี่ห้ออื่นๆ ที่ผลิตออกมาเจาะกลุ่มตลาดอีกจำนวนมาก
ขณะเดียวกันวันนี้ภาพของการเติบโตของธุรกิจยาดม ไม่ได้ผลิตใช้กันแค่ในไทยเท่านั้น เพราะทุกวันนี้ ยาดมบ้านเรายังฮ็อตฮิตกลายเป็นไอเทมเด็ดที่นักท่องเที่ยวมาไทยต้องหอบหิ้วข้ามน้ำข้ามทะเลไปเป็นของฝากอีกด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ แน่นอนว่าส่งผลให้อุตสาหกรรมยาดมของไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว
“กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” จะพาไปสำรวจตลาด “ยาดม” ในประเทศไทยกันให้มากขึ้น นอกเหนือจาก 2 เจ้าใหญ่ที่ครองตลาดแล้ว ยังมีแบรนด์ใดอีกบ้างที่เข้ามาลงสนามนี้บ้าง? และแต่ละรายโกยรายได้กันไปเท่าไร
โดยจากการสำรวจของ Ac Nielsen ระบุว่า ตลาด "ยาดม" ของไทยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3,300 ล้านบาทต่อปี และจากการสำรวจพบว่า ประชากรราว 70 ล้านคน ใช้ยาดมอย่างน้อย 10% และในหนึ่งเดือนใช้อย่างน้อย 2 หลอด ขณะที่ "ยาหม่องน้ำ" ของไทย ในช่วงปี 2561 มีมูลค่าราวกว่า 1,000 ล้านบาท
Visitors: 1,405,382