ส่อง 4 ปัจจัยที่ทำให้ ราคาทอง ถูกหรือแพง

ส่อง 4 ปัจจัยที่ทำให้ 'ราคาทอง' ถูกหรือแพง
 
ส่อง 4 ปัจจัยสำคัญ ที่มีผลทำให้ "ราคาทอง" พุ่งหรือร่วง หลังทองรูปพรรณทะลุ 30,000 บาทเป็นคร้ังแรกในประวัติศาสตร์ไทย พร้อมทำความรู้จักกับผู้มีหน้าที่ "กำหนดราคาทอง" ในประเทศไทย ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้
 
ส่อง 4 ปัจจัยที่ทำให้ 'ราคาทอง' ถูกหรือแพง | กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
 
"ราคาทอง" พุ่งทะลุ 30,000 บาท นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย โดยข้อมูล ราคาทองวันนี้ ประจำวันที่ 6 ส.ค. 63 เวลา 12.47 น. (ครั้งที่ 4) ทองคำแท่ง 96.5% ขายออก 30,000.00 รับซื้อ 29,900.00 ส่วนทองรูปพรรณ 96.5% ขายออก 30,500.00 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาทองคำโลกที่ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบใหม่ (อ่านข่าว : 'ราคาทอง' ทำนิวไฮต่อเนื่อง ใกล้แตะ 2,050 ดอลล์)
 
ราคาทองคำที่ขึ้นๆ ลงๆ เกิดขึ้นจากอะไรกันแน่? "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พาไปไขข้อสงสัย และทำความรู้จักกับ 4 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาทองพุ่งสูงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และปัจจัยโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขราคาทองในประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงขึ้นและลงในสถานการณ์ต่างๆ โดย "สมาคมค้าทองคำ" ระบุถึงตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดราคาทองของไทย สามารถสรุปได้ 4 ประการดังนี้
 
1. ราคาทองต่างประเทศ (Gold spot)
2. อัตราค่า Premium (ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการนำเข้า/ส่งออกทองคำ)
3. ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
4. Demand และ Supply ของทองคำภายในประเทศ
 
ราคา "ทองคำ" ไทย ใครเป็นผู้กำหนด ?
การ "กำหนดราคาทอง" ของไทย ประกอบด้วยหลายปัจจัยตามที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น โดยผู้ที่กำหนดราคาทองคำไม่สามารถทำได้โดยใครคนใดคนหนึ่ง แต่จะมี "คณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคมค้าทองคำ" คอยดูแลตลอดช่วงเวลาการซื้อขาย โดยยึดถือ "หลักประชาธิปไตย" ในการกำหนดราคาทองคำ ถือเสียงส่วนมาก 3 ใน 5 เสียงในการตัดสินใจ ซึ่งคณะกรรมการประกอบไปด้วยคณะกรรมการจาก
 
1. ห้างทองจินฮั้วเฮง
2. ห้างทองฮั่วเซ่งเฮง
3. ห้างทองเลี่ยงเส็งเฮงพาณิชย์
4. ห้างทองหลูชั้งฮวด
5. ห้างทองแต้จิบฮุย
 
ราคาทองคำสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ซึ่งการกำหนดราคาทองของสมาคม จะอ้างอิงจากราคา Gold Spot บวกหรือลบค่า Premium จากผู้ค้าทองในต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ว่าเป็นสภาวะการนำเข้า หรือการส่งออก แล้วจึงนำมาคำนวณกับค่าเงินบาท
 
จากนั้น จะทำการแปลงหน่วยน้ำหนักจากหน่วย ounze (ออนซ์) ให้เป็นหน่วยน้ำหนักของไทย คือ บาท โดยการตัดสินใจประกาศราคาทองในประเทศแต่ละครั้งนั้น ทางสมาคมจะต้องพิจารณาองค์ประกอบของ Demand (ความต้องการซื้อ)
 
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ https://www.blockdit.com/articles/5f2ca20f3a8bf00cbf0817fb/#
Visitors: 1,405,371