สำนักข่าว New York Times รวบรวมข้อมูลวิธีการรักษา COVID-19 ต่าง ๆ

สำนักข่าว New York Times รวบรวมข้อมูลวิธีการรักษา COVID-19 ต่าง ๆ ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เเละผล
การศึกษาทางคลินิก
วิธีการเเบบไหนได้ผลดี วิธีการเเบบไหนเป็นเเค่เรื่องหลอกมาดูกัน !!!!!
 
สถานการณ์การระบาด ล่าสุดของ covid-19 ยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกไปมากกว่า
14 ล้านคนเเล้ว เเละยังมีเเนวโน้มเพึ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เเต่อย่างไรก็ดีอัตราการเสียชีวิตจาก covid-19 นั้นไม่ได้เพึ่มขึ้นตามจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพึ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตสะสมจาก covid-19 ทั่วโลก ราวๆ 6 เเสนคน หรือคิดเป็น ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
 
ตลอดกว่า 8 เดือนที่ผ่านมาตั้งเเต่ covid-19 ได้เรึ่มต้นการระบาด ได้มีการเก็บข้อมูลทางการเเพทย์มากมายเกี่ยวกับ วิธีการรักษาต่างๆ ซึ่งก็มีที่ได้ผล เเละ ไม่ได้ผล
 
ล่าสุด ผมได้อ่านบทความที่ลงใน The New york times ซึ่งได้สรุป ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษา ต่างๆเกี่ยวกับ covid-19 ว่า วิธีการไหนมีหลักฐานว่าได้ผลดี , วิธีการไหนมีหลักฐานว่าได้ผลดีเเละไม่ดี, วิธีการไหนไม่ได้ผล เเละ วิธีการไหนเป็นเเค่เรื่องหลอก !!!
ซึ่งในบทความนี้จะขอสรุปสั้นๆเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้นะครับ
 
1. วิธีการรักษาที่มีหลักฐานว่าได้ผลดี(promising evidence) ในบทความของ The New york times ได้กล่าวถึงกลุ่ม promising evidence อยู่สองอย่าง คือ ยา Remdesivir เเละ ยา Dexamethasone
 
ยา Remdesivir เป็นยาต้านไวรัส ที่ค่อนข้างใหม่ ผลิตโดยบริษัท Gilead Sciences ของประเทศสหรัฐอเมริกา เดิมยาชนิดนี้ ถูกคิดค้นเพื่อรักษา ไวรัสอย่าง ebola เเต่ ถูกนำมาใช้รักษา ผู้ป่วย covid-19 เเละมีหลายรายงานทางการเเพทย์ออกมายืนยัน ประสิทธิภาพในการรักษา ผู้ป่วย covid-19
 
ส่วน ยา Dexamethasone เป็นยาที่มีใช้ทั่วๆไปในเเทบทุกโรงพยาบาลทั่วโลก ยาชนิดนี้มีฤทธิ์ ลดการอักเสบ ซึ่งมีจากการศึกษา หลายๆการศึกษา พบว่าผู้ที่เสียชีวิตจาก covid-19 หลายคนเกิดจาก พายุ ไซโคไคน์ (cytokine strom) เเละทำให้ร่างกายผู้ป่วยเกิดการอักเสบอย่างรุนเเรง ซึ่งตัว Dexamethasone จะเข้าไปช่วยในส่วนนี้ เเละ ล่าสุดได้มีการศึกษายืนยันว่า Dexamethasone สามารถมีประสิทธิภาพช่วยในการรักษา ผู้ป่วย covid-19 จริงๆ
 
2. วิธีการรักษาที่มีหลักฐานทั้งได้ผลดีเเละไม่ดี (TENTATIVE OR MIXED EVIDENCE)
มีหลายการรักษาที่ถูกจัดในกลุ่มนี้ ตัวอย่างเช่น ยา Favipiravir หรือ การใช้ plasma จากผู้ที่หายป่วยจากcovid-19 มารักษา ซึ่งวิธีการรักษาที่อยู่ในกลุ่มนี้ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ เพียงเเต่อาจจะยังขาดการศึกษาขนาดใหญ่ในการพิสูจน์ประสิทธิภาพเท่านั้น
3. วิธีการรักษาที่พิสูจน์ว่าใช้ไม่ได้ผล( NOT PROMISING) วิธีการรักษากลุ่มนี้ได้มีหลักฐานยืนยันเเล้วว่า ไม่ได้ผลซึ่งก็ คือ ยา Lopinavir and ritonavir เเละ Hydroxychloroquine and chloroquine (ยาที่ ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา เชียร์ว่าจะเป็นการปฎิวัติการรักษา covid-19) โดยที่ ยา 2 กลุ่มนี้ เดิมเคยเป็นยาที่อยู่ในเเนวทางการรักษา covid-19 ด้วยซ้ำ!!!
 
เเต่ตอนนี้มีหลักฐานพิสูจน์เเล้วว่าไม่ได้ผล จนตอนนี้ยาสองกลุ่มนี้ก็ถูกถอดออกจากเเนวทางการรักษา covid-19 ทั่วโลก
 
4. วิธีการรักษาที่เป็น เรื่อง หลอกไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เเต่อย่างใด( Pseudoscience and Fraud)
กลุ่ม วิธีการเหล่านี้ก็อย่างเช่น การดื่มเหล้า ดื่มน้ำยาฆ่าเชื้อ การใช้ เเร่เงิน หรือ การอาบเเสง UV (เเสง UV ที่ฆ่าเชื้อได้คือ ทำในห้องทดลอง ไม่ได้เป็นการอาบ UV ผ่านผิวหนังมนุษย์นะครับ )
 
ส่วนเรื่อง การที่จัดผู้ป่วยนอน ในท่า prone position เเละการใช้ เครื่อง ventilator เเละเครื่องช่วยหายใจอื่นๆ ซึ่งในบทความ ของ The New york times จัดในกลุ่ม widely used ซึ่งวิธีการ จัดท่าผู้ป่วยนอนท่า prone position เเละการใช้เครื่อง ventilator เป็นพื้นฐานในการดูเเลผู้ป่วยติดเชื้อรุนเเรงที่ปอดอยู่เเล้ว ผมจึงไม่ขอพูดถึงนะครับ
 
บทความนี้เป็นตัวอย่างว่า ตลอดกว่า 8 เดือนที่ผ่านมา หมอเเละนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้คอยเก็บข้อมูลตลอดนะครับว่ามีการรักษา หรือ วิธีการเเบบใดที่ช่วยรักษา covid-19 ได้ เเม้ตอนนี้จะยังไม่ได้มียาที่เฉพาะในการรักษา covid-19 ได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์เเต่ ก็ได้พัฒนาวิธีการรักษาต่างๆได้ตามลำดับ จนเเม้จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากมาย เเต่อัตราการเสียชีวิตจาก covid-19 ก็ไม่ได้เพิ่มตามมากนัก
 
เเต่อย่างไรก็ดี การป้องกันตัวเองย่อมดีที่สุดนะครับ การใส่ หน้ากาก อนามัย ล้างมือ บ่อยๆ ย่อมดีที่สุดเสมอ ถ้าทุกคนในสังคมปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผมเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง เเละเป็นการช่วยสังคมส่วนรวมไปในตัวด้วยครับ
 
Visitors: 1,380,185