นักวิทย์ทั่วโลกจี้ WHO รับความจริง ‘โควิด-19’ แพร่ในอากาศไกล 10 เมตร

นักวิทย์ทั่วโลกจี้ WHO รับความจริง ‘โควิด-19’ แพร่ในอากาศไกล 10 เมตร

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกว่า 200 คน เรียกร้องทางการประเทศต่าง ๆ รวมถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) ยอมรับว่า ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ แพร่กระจายทางอากาศได้ไกลถึง 10 เมตร พร้อมขอให้แก้ไขคำแนะนำด้านมาตรการป้องกันที่ใช้อยู่ขณะนี้

นักวิทย์ทั่วโลกจี้ WHO รับความจริง ‘โควิด-19’ แพร่ในอากาศไกล 10 เมตร

ในวารสาร Clinical Infectious Diseases ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (6 ก.ค.) กลุ่มนักวิจัยนานาชาติ 239 คนให้ความเห็นว่า ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ไวรัสต่าง ๆ สามารถเดินทางในอากาศได้ไกลถึง 10 เมตร

นอกจากนี้ ผลวิเคราะห์เหตุการณ์การแพร่กระจายเชื้อในบางกรณี ยังพบข้อเท็จจริงเดียวกันกับไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นต้นตอของโรคโควิด-19 หมายความว่า ไวรัสนี้แพร่กระจายทางอากาศได้มากกว่า 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะห่างมาตรฐานที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ

“การล้างมือบ่อย ๆ และเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่ในมุมมองของเรา มันยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันละอองฝอยทางเดินหายใจที่มีเชื้อไวรัส ซึ่งถูกปล่อยสู่อากาศโดยคนที่ติดเชื้อ” นางลิเดีย โมรอว์สกาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ในออสเตรเลีย หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมเขียนบทความ ระบุ

 

คำแนะนำต่าง ๆ ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงยกระดับประสิทธิภาพระบบระบายอากาศสำหรับสภาพแวดล้อมในอาคาร ใช้ตัวกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง และใช้โคมไฟรังสีอัลตราไวโอเลต เช่นเดียวกับหลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนหมู่มากในอาคารและระบบขนส่งสาธารณะ

เมื่อผู้ติดเชื้อไอหรือจาม พวกเขาจะพ่นละอองฝอยขนาดต่าง ๆ ออกมา โดยละอองฝอยที่มีขนาดมากกว่า 5 ถึง 10 ไมโครมิเตอร์ จะร่วงสู่พื้นอย่างรวดเร็วภายในรัศมี 1-2 เมตร แต่ละอองฝอยที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานและกระจายไปไกลกว่านั้นมาก

แม้มีการถกเถียงในหมู่นักวิทยาศาตร์เกี่ยวกับวิธีการแพร่เชื้อของละอองฝอยขนาดเล็กในบริบทของโควิด-19 แต่จนถึงตอนนี้ WHO เชื่อว่า กรณีนี้น่าจะเกิดในปัจจัยแวดล้อมพิเศษในโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นหลัก เช่น เมื่อผู้ป่วยต้องใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจ

ขณะที่ผลการศึกษาการแพร่ระบาดบางกรณีเผยให้เห็นว่า การแพร่กระจายเชื้อผ่านละอองฝอยขนาดเล็กไม่ได้จำกัดเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ดูเหมือนว่ากระแสลมจากเครื่องปรับอากาศจะเป็นต้นตอพัดให้ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ฟุ้งกระจายได้เช่นกัน

 

ผลการศึกษาระบุว่า เครื่องปรับอากาศยังเคยเป็นสาเหตุให้เชื้อโควิด-19 กระจายไปสู่โต๊ะอื่น ๆ ในร้านอาหารแห่งหนึ่งของจีนเมื่อเดือน ม.ค. ส่งผลให้ลูกค้าหลายคนในร้านติดเชื้อ

ในบทความ บรรดานักวิจัยยอมรับว่า หลักฐานของการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยขนาดเล็กยังไม่สมบูรณ์นัก แต่อ้างว่าหลักฐานของละอองฝอยขนาดใหญ่และการแพร่เชื้อผ่านพื้นผิวก็ไม่สมบูรณ์เช่นกัน แต่ก็ยังคงได้รับการบรรจุอยู่ในคำแนะนำด้านมาตรการป้องกันด้านสาธารณสุข

“ตามหลักการป้องกันไว้ก่อน เราควรใส่ใจทุกแนวทางที่เป็นไปได้ที่สำคัญทุกแนวทางในความพยายามชะลอการแพร่ระบาดของโควิด-19” กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระบุ

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

Visitors: 1,380,180