เรากำลังอยู่ในยุคน้ำแข็ง (Ice Age)

จริงหรือเปล่า....เรากำลังอยู่ในยุคน้ำแข็ง (Ice Age)

ถ้าจะกล่าวถึงยุคน้ำแข็ง เราคงคิดถึงสภาพแวดล้อมที่โลกถูกปกคลุมไปด้วยหิมะจำนวนมหาศาลที่ทับถมอัดกันจนกลายเป็นผืนน้ำแข็งขนาดใหญ่ ปกคลุมพื้นที่ทั้วทั้งทวีปและบางส่วนของมหาสมุทร รวมถึงสภาพอากาศที่เลวร้ายอุณหภูมิติดลบจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ซึ่งนั่นก็มีส่วนที่ถูก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ณ ปัจจุบัน โลกของเราก็กำลังอยู่ในยุคน้ำแข็ง แล้วทำไมสภาพแวดล้อมปัจจุบันไม่ใกล้เคียงกับยุคน้ำแข็งที่เราจินตนาการไว้เลยหละ

เรื่องราวจะเป็นอย่างไรติดตามกันได้เลยครับ

นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเชื่อว่าโลกของเรามีอายุประมาณ 4.3 พันล้านปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่โลกถือกำเนิดขึ้น โลกเคยเข้าสู่ "ยุคน้ำแข็ง" มาแล้วหลายครั้ง แต่ยุคน้ำแข็งที่เป็นยุคหลัก ๆ มีทั้งสิ้น 5 ยุค ดังนี้

ยุคที่ 1 ยุคน้ำแข็งฮูโรเนียน เมื่อประมาณ 2.4 - 2.1 พันล้านปีที่แล้ว

ยุคที่ 2 ยุคน้ำแข็งครีโอจีเนียน เมื่อประมาณ 720 - 635 ล้านปีที่แล้ว

ยุคที่ 3 ยุคน้ำแข็งแอนเดียน-ซาฮาราน เมื่อประมาณ 450 - 420 ล้านปีที่แล้ว

ยุคที่ 4 ยุคน้ำแข็งพาลีโอโซอิคตอนปลาย เมื่อประมาณ 335 - 260 ล้านปีที่แล้ว

ยุคที่ 5 ยุคน้ำแข็งควอเทอร์นารี เมื่อประมาณ 2.7 ล้านปีที่แล้ว - ปัจจุบัน

นั่นแสดงว่าเรากำลังอยู่ในยุคน้ำแข็งยุคที่ 5 คือ "ยุคน้ำแข็งควอเทอร์นารี" แล้วทำไมเราถึงรู้สึกว่าโลกมันร้อนมากซะจนไม่อยากจะเชื่อว่าเรากำลังอยูในยุคน้ำแข็งเลยหละ

แบบจำลองลักษณะของโลกในยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 28,000 ปีที่แล้ว
 (credit: https://medium.com/planet-3/the-last-ice-age-4ac530a8deac)
 

ความจริงก็คือ "ยุคน้ำแข็ง" ไม่ได้มีเฉพาะช่วงเวลาที่หนาวเย็น หรือที่เรียกว่า glacials period ตลอดเวลา แต่ยังมีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่อุณหภูมิอบอุ่น 

เรียกว่า interglacials period ด้วย

ซึ่งในยุคน้ำแข็งควอเทอร์นารีนี้ จะมีการเปลี่ยนผ่านระหว่างช่วงที่หนาวเย็น กับช่วงที่อบอุ่นเป็นวัฏจักร ทุก ๆ 100,000 ปี โดยประมาณ

โดยช่วงที่หนาวเย็นจะคงอยู่ประมาณ 90,000 ปี ในระยะเวลานี้น้ำแข็งจะก่อตัวกันเป็นแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างจนบางทวีป

สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ส่วนช่วงอบอุ่นจะคงอยู่ประมาณ 10,000 ปี ในช่วงนี้น้ำแข็งจะละลาย คงเหลือไว้เพียงบางส่วนบริเวณขั้วโลก เมื่อผ่านช่วงที่อากาศอบอุ่นไป 

ก็จะเข้าสู่ช่วงที่อากาศหนาวเย็นอีกครั้ง วนกันเป็นวัฏจักร

ดังนั้น ปัจจุบันโลกของเราจึงจัดว่าอยู่ในยุคน้ำแข็ง ช่วงที่อบอุ่น หรือที่เรียกว่า interglacials period นั่นเอง แล้วอะไรคือสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ของอุณหภูมิเหล่านี้หละ

 

การเปลี่ยนผ่านช่วงเวลาเย็นและอบอุ่นนี้ เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน

เช่น ลักษณะการเอียงของแกนโลกขณะหมุนรอบตัวเอง รวมถึงลักษณะการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการได้รับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์มากขึ้นหรือลดลงในบรรยากาศโลก จะส่งผลต่ออุณหภูมิบนผิวโลกด้วย

ซึ่งในปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่ภาวะเรือนกระจก เป็นผลพวงจากการเติบโตอันรวดเร็วของอุตสหกรรมต่าง ๆ ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) สู่บรรยากาศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งภาวะเรือนกระจกนี้กำลังเข้ารบกวนการเปลี่ยนผ่านช่วงอุณหภูมิของโลกอย่างฉับพลัน จนนักวิทยาศาสตร์ยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในภายภาคหน้า

แล้วนักวิทยาศาสตร์รู้ได้อย่างไรว่าโลกเคยเกิดยุคน้ำแข็งมาแล้วกี่ครั้ง

 

เป็นคำถามที่ชวนสงสัยมากว่าเราศึกษาจากอะไร ถึงได้รู้ถึงการเกิดยุคน้ำแข็งในอดีตได้ ทั้งที่เวลาผ่านมานานหลายล้านปีแล้ว

คำตอบคือ ศึกษาจากหลักฐานที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล เช่น แนวปะการังโบราณ ชั้นตะกอนในมหาสมุทร หรือร่องรอยที่ปรากฏในหินในยุคต่าง ๆ

เนื่องจากแนวปะกะรังมักเกิดในบริเวณน้ำตื้นเขตอบอุ่น จึงสามารถบ่งบอกถึงระดับน้ำทะเล ณ เวลานั้นได้เป็นอย่างดี รวมถึงชั้นของแผ่นน้ำแข็งเองก็สามารถเจาะมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เกิดเฉพาะช่วงเวลาที่พบในชั้นน้ำแข็งได้

**ทั้งนี้ทั้งนั้นสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์เกิดการเปลี่ยนแปลงตามการวิวัฒนาการของเทคโนโลยีและข้อมูล**

Ice cores are cylinders of ice drilled through the thick sheets of Greenland and Antarctica. 
(Credit: https://www.amnh.org/explore/ology/earth/ask-a-scientist-about-our-environment/how-did-the-ice-age-end)
 

references: ที่มา : Geo Low Energy

 
Visitors: 1,216,580