หากติดโรคโควิด-19 ชายกับหญิง เพศไหนมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่ากัน

หากติดโรคโควิด-19 !!!! ชายกับหญิง เพศไหนมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่ากัน เพราะปัจจัยหรือสาเหตุใด ?

 

เคยสงสัยมั้ยค่ะ ว่าสรีระของเพศชายและหญิง ตอบสนองต่อเชื้อโควิด-19 ที่จู่โจมต่อร่างกายต่างกันหรือไม่

หากติดเชื้อแล้ว ใครมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่ากัน และเพราะอะไร มาทราบข้อมูลไปพร้อมๆกันเลยค่ะ.....

 

ข้อมูลจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค(CDC)ของจีน บ่งชี้ว่า...." แม้ว่าอัตราการติดเชื้อโควิด -19 ระหว่างชายและหญิงจะไม่ต่างกันมากนัก แต่อัตราการเสียชีวิตนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ "

 

โดยมีจำนวนคนไข้ชายที่เสียชีวิต 2.8% ในขณะที่คนไข้หญิงหญิงเสียชีวิต 1.7%

 

และจากการระบาดหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมา ในกลุ่มเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ ....ผู้ชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้หญิงมากเช่นกัน ...ทั้งจากโรคซาร์ส(SARS)และโรคเมอร์ส(MERS)

 

โดยวารสารทางการแพทย์ Annals of Internal Medicine รายงานเมื่อปี 2003 ว่า....อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคซาร์สของผู้ชายในฮ่องกงสูงกว่าผู้หญิงถึง 50 %

 

ในแง่ภูมิต้านทานโรค เพศชายเป็นเพศที่ " อ่อนแอกว่าหรือไม่ ? " นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่า..เหตุใดผู้หญิงจึงมีภูมิต้านทางโรคแข็งแกร่งกว่าผู้ชายและยังสามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนมีประสิทธิภาพดีกว่า และคงอยู่นานกว่าอีกด้วย

 

ดร. จานีน เคลย์ตัน ผู้อำนวยการแผนกวิจัยสุขภาพสตรี สถาบันแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ กล่าวว่า " มีบางอย่างที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเพศหญิงทรงพลังมากกว่า แต่บางสิ่งนี้ก็เป็นแรงขับเคลื่อน ให้ภูมิคุ้มกันตื่นตัวและทำงานมากเกินไป จน 80 % ของผู้ป่วย ด้วยโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองเป็นก็เป็นผู้หญิง "

 

และข้อสันนิษฐานนี้....เชื่อว่าผู้หญิงมีภูมิคุ้มกันโรคสูงกว่าผู้ชาย และยังช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับทารกแรกเกิด ซึ่งต้องรับสารแอนตี้บอดี้เพื่อต่อต้านเชื้อโรคจากน้ำนมมารดาโดยตรง (ในระหว่างที่ภูมิคุ้มกันของทารกยังอ่อนแอและกำลังพัฒนา)

 

นอกจากนั้น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ยังมีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย ในส่วนโครโมโซม X ซึ่งเพศหญิงมีอยู่ 2 ตัว ก็มียีน ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเพศชายมีโครโมโซม X อยู่เพียงแค่ตัวเดียว

 
 

แม้แต่ในสัตว์ทดลอง อย่างเช่นหนู

 

ในการทดสอบการแพร่เชื้อไวรัสโรคซาร์สให้กับหนูทดลองจำนวนหนึ่ง ทีมนักวิจัยพบว่า " หนูตัวผู้ติดเชื้อง่ายกว่าหนูตัวเมีย " แม้ได้รับเชื้อในปริมาณน้อยกว่า โดยร่างกายของหนูตัวผู้ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมและการกำจัดไวรัสช้ากว่า....ทำให้ล้มป่วยและเกิดความเสียหายที่ปอดรุนแรงกว่าหนูตัวเมีย

 

และเมื่อทีมวิจัย ทดลองฉีกยาสกัดกั้นการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ในหนูตัวเมียหรือผ่าตัดเอารังไข่ออก...พบว่า หนูตัวเมียสามารถติดเชื้อไวรัสโรคซาร์สง่ายขึ้นและมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น... ในขณะที่หนูตัวผู้การฉีดยายับยั้ง ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันแต่อย่างใด

 

พฤติกรรมในแต่ละเพศก็มีส่วนสำคัญ...

 
 

ยกตัวอย่างเช่น ....ในประเทศจีนนั้นมีจำนวนผู้สูบบุหรี่สูงที่สุดในโลกถึง 316 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย...

ส่งผลให้สุขภาพปอดย่ำแย่ และการที่ชายจีนมีภาวะความดันสูงและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้หญิง..... หากติดเชื้อโควิด-19 ย่อมเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงอย่างแน่นอน....

 

และสุดท้ายข้อมูลจาก ศ. อะกิโกะ อิวาซากิ ผู้เขี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกัน จากมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา กล่าวด้วยว่า ผู้ชายมีความประมาทและมักจะมั่นใจว่าตนเองจะปลอดภัยจากโรคร้ายมากเกินไป โดยพบหลักฐานที่ยืนยันถึงทัศนคติแบบนี้ในงานวิจัยล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์จีน บ่งชี้ว่า " ผู้ชายมีแนวโน้ม จะเข้ามารับการตรวจรักษาโรคโควิด-19 ที่โรงพยาบาลช้าเกินไป อาจทำให้โรครุกลาม และจึงมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า "

 

จากข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้ ก็ขอให้เพศชายต้องรักษาสุขภาพและไม่ประมาทในการตรวจรักษากันทุกคนนะคะ

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเพศไหนๆก็ ขอให้รักษาสุขภาพ และฝากดูแลตนเองและครอบครัวให้ดีที่สุดนะคะ 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก...(Reference)

Dent-jasmine เรียบเรียง

Visitors: 1,380,184