The Future after COVID

The Future after COVID

 “อนาคตหลังโควิด” การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ มาแน่ !

1. การใช้เทคโนโลยีในการทำงาน - ในช่วงนี้ คนไทยมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานมากขึ้น เมื่อก่อนคนอาจไม่ค่อยรู้จัก Zoom, Google Meet, Web Ex ฯลฯ แต่เดียวนี้ กลายเป็นเรื่องปกติ

2. การทำงานและการประชุมจากที่บ้าน - เมื่อก่อน การทำงานที่บ้านเป็นเพียงนโยบายที่องค์กรใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ แต่ในความเป็นจริง มีคนทำงานจากบ้านหรือไม่ต้องเข้าออฟฟิศน้อยมาก แต่จากนี้ไป WFH จะกลายเป็นเรื่องปกติ ที่ยอมรับได้

3. การเพิ่มขึ้นของคนทำงานแบบฟรีแลนซ์ (Freelancer) หรือกิ๊กเวิร์คเกอร์ (Gig Worker) - เมื่อเกิดวิกฤต ยอดขายตก กำไรหด ก็ต้องลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย หลายองค์กรให้พนักงาน Leave without pay บางแห่งโชคร้ายสู้ภัยต่อไปไม่ไหวก็เลิกจ้าง หันไปจ้างพนักงานชั่วคราวหรือ outsource แทน ส่วนคนที่ตกงาน แต่มีความสามารถ ก็หันไปรับงานเป็น Job-Job หลังวิกฤต โมเดลการทำงานแบบนี้ ก็คงจะดำเนินต่อไป

4. การกระจายความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต - คนไทยเริ่มตระหนักแล้วว่า การใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตระกร้าใบเดียว โดยไม่กระจายความเสี่ยงเลย เป็นเรื่องที่ไม่ฉลาด สถานการณ์โควิดและผลกระทบในครั้งนี้ ทำให้คนตระหนักว่า การพึ่งพิงแหล่งรายได้แหล่งเดียว หรือทั้งครอบครัว มีคนทำงานคนเดียว เสี่ยงเกินไป

5. ความตื่นตัวต่อเทคโนโลยี - สถานการณ์โควิด เป็นเหมือนคันเร่งที่ผลักดันให้เทคโนโลยี เข้ามามีอิทธิผลต่อชีวิตคนไทย เร็วกว่าที่คิด คนรุ่นเก่าๆ ที่เคยกลัวและปฏิเสธเทคโนโลยี ก็ต้องกลับมาสนใจ เพราะชีวิตจะเดินต่อไปไม่ได้ ถ้าไม่เปิดรับเทคโนโลยี

6. กฎหมายและกติกาที่ล้าหลัง - สถานการณ์นี้ ทำให้รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลกฎหมายและกติกาของบ้านเมือง ได้รู้ว่ามีข้อกำหนดอะไร ที่ล้าสมัย ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงบ้าง หลังวิกฤต คงได้เห็นการสังคายนากันยกใหญ่

7. การเรียนออนไลน์ - ในแวดวงการศึกษาที่ผ่านมา E-Learning ถือเป็นของแสลง ไม่ว่าโปรแกรมการเรียนรู้ดีๆ แบบนี้ จะประสบความสำเร็จมาจากประเทศไหนก็ตาม สุดท้ายก็ตกม้าตายกับคนไทย แต่จากนี้ไป การเรียนรู้แบบออนไลน์ จะกลายเป็น New Normal ไม่ใช่เฉพาะคนทำงาน แต่เริ่มต้นกันตั้งแต่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เลยทีเดียว

8. การวัดประสิทธิภาพในการทำงาน - จะเปลี่ยนจากการให้ความสนใจใน Input เช่น ต้องเริ่มทำงานกี่โมง เลิกกี่โมง มาเป็นการวัดความสำเร็จจาก Output เช่น จำนวนชิ้นงานที่ส่ง หรือคุณภาพของงานที่ทำ แทน โดยไม่สนใจว่าจะใช้เวลาไหนในการทำงานหรือจะทำงานที่ไหน

9. ความรู้สึกที่มีต่อผู้นำ - เรื่องสุดท้าย เป็นของแถม โบราณว่า “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” ในขณะเดียวกัน  “สถานการณ์ก็ทำลายวีรบุรุษ” ได้เช่นเดียวกันในช่วงวิกฤตแบบนี้ ทำให้เราได้เห็นศักยภาพของผู้นำหลายๆ คนตั้งแต่ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับองค์กร ไปจนถึงระดับครอบครัว ใครตัวจริง ใครตัวปลอม เห็นได้ทันที

Visitors: 1,427,740