การลงทุนในภาวะวิกฤติ
คู่มือการลงทุนในภาวะวิกฤติ MooNoi Manualโดย พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
วันนี้มีบทความเรื่องการออกแบบกลยุทธ์การลงทุน จากเพจหมูน้อยออมเงินมาฝากครับ ตัวบทความทั้งหมดจะแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกัน คือ 1. Check Assets - ตรวจสอบทรัพย์สิน 2. Analyse Situation - ประเมินสถานการณ์ 3. Choose & Allocation - คัดเลือก และ กระจายความเสี่ยง 4. Insurance - ประกันภัย 1. Check Assets ตรวจสอบทรัพย์สินที่มีว่า ขณะนี้เรามีอะไรอยู่ในมือบ้าง เริ่มด้วยการตรวจสอบทรัพย์สิน ในส่วนของ....... 1.1 เงินฝาก ทำได้ง่ายๆเลยครับ ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน 1.2 Stocks หุ้นที่มีอยู่ในมือ แม้แต่ตัวที่พื้นฐานดีก็ลงมาเยอะมากครับตอนนี้ ซึ่งมันจะทำให้เราเกิดคำถามว่า.....จะ ถัว, คัท, หรือ ปล่อยมันทิ้งไว้อย่างนั้นดี ท่านใดที่จะ...................... ====== "ถัว" ====== ก็ต้องวางแผนอย่างละเอียดว่า ถัวไปแล้วหุ้นเราจะลงมาอยู่ที่ราคาเท่าไหร่ แล้วประเมินว่าต้องใช้เวลาอีกนานไหม กว่าที่ราคาหุ้นจะมาถึงจุดที่ต้นทุนเราอยู่ ที่สำคัญ ผมไม่อยากให้ท่านคิดแค่ว่ามันต้องหลุดทุน แล้วเราจะออกจากหุ้นตัวนั้นๆได้อย่างสบายใจ อย่าลืม "มองกำไรด้วยนะครับ" . ====== "คัท" ====== คำพูดสั้นๆที่ พูดกี่ครั้งก็เจ็บ! แต่ผมให้ข้อคิดอย่างนี้ครับ ว่า เมื่อเราคัท สิ่งที่เราได้คืนมาทันทีคือ "เงิน" ซึ่งเราจะนำมาใช้ในการบริหารการลงทุนในระยะถัดไป . ====== "ปล่อยทิ้งไว้" ====== สำหรับใครที่เลือกทางนี้ หนึ่งในต้นทุนเราต้องแบกรับคือ "เวลา" กว่าที่มันจะกลับคืนมาในราคาที่เราเข้าซื้อ มันอาจจะใช้เวลาหลายเดือน หลายปี หรืออาจจะใช้เวลาแค่ไม่กี่วัน เราคงไม่อาจรู้ได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ "เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองเลือก" ในวินาทีก่อนที่เราจะกดส่ง Order เราต้องรู้แล้วครับ ว่าผลลัพธ์หลังจากกด ปุ่ม Confirm order คืออะไร "เมื่อลงมือไปแล้วอย่าได้เสียใจในสิ่งที่เราเลือก ถ้าคิดจะเสียใจ จงเสียใจที่ไม่ได้ลงมือ" . 1.3 Fund - กองทุน ในส่วนของกองทุนเราก็ใช้หลักการคิดเดียวกับ หุ้น ครับ เพียงแต่มันจะมีความซับซ้อนเล็กน้อยตรงที่ว่า "ถ้าเราคิดจะขาย" เราต้อง ตรวจสอบก่อนว่า กองทุนที่เรามีอยู่ในมือ มีตัวไหนบ้างที่เราสามารถ "ขายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข" ธนาคารไหนที่มี Mobile App ส่วนใหญ่จะบอกใน App เลยครับว่าตัวไหนที่เราขายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขบ้าง แต่ถ้าไม่มี แล้วท่านคิดจะขาย ผมแนะนำให้ไปติดต่อผู้แนะนำการลงทุนของที่ๆท่านซื้อกองทุนตัวนั้นๆมา "ถ้าเราคิดจะไม่ขาย" หรือ มันอยู่ในเงื่อนไขของ "ยังไม่ครบกำหนดเวลา" เรายังมีทางเลือกที่จะ "สลับกอง ที่อยู่ในกองทุนประเภทเดียวกัน" เช่น -LTF ก็สลับกันได้ใน LTF โดยที่ไม่ผิดเงื่อนไข -RMF ก็สลับกันได้ใน RMF โดยที่ไม่ผิดเงื่อนไข **** สำหรับที่ท่านใดที่จะสลับไปยังกองทุนประเภท Defensive แล้วกองทุนเอาไปลงทุนในตราสารหนี้ ต้องระวังตราสารหนี้ที่อยู่ในประเภท Non rate ด้วยนะครับ ความเสี่ยงสูงสุดของตราสารหนี้ที่เราต้องตระหนัก คือการ Default หรือการผิดนัดชำระหนี้ เพราะการที่ผู้ออกตราสารผิดนัดชำระหนี้ ...บ่งบอกอะไรได้หลายๆอย่างครับ**** 2. Analyse Situation - ประเมินสถานการณ์ ในข้อนี้ ผมอยากให้เราใช้เหตุผล และ ข้อเท็จจริง ในการประเมินสถานการณ์ "ห้ามใช้อารมณ์โดยเด็ดขาด" อย่าเข้าซื้อด้วยความคิดที่ว่า เดี๋ยวมันก็เด้ง มันลงมาลึกแล้ว ฯลฯ เพราะมันจะส่งผลเสียกับ "ทัศนคติที่มีต่อการลงทุนของเราในระยะยาว" ที่สำคัญ"ไม่ว่าความคิดเราจะถูกหรือผิดก็ต้องมีแผนรองรับไว้ในสถานการณ์ตรงกันข้ามเสมอ"เมื่อเราอยู่ในสนาม เราไม่มีเวลาลังเลครับ การตัดสินใจ ณ วินาทีนั้นต้องไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้องคิด วางแผน ให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเข้าไปผมขอยกตัวอย่าง ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่ผมวางไว้นะครับ ในกลยุทธ์หลักชุดที่ 1 ของผมจะมีเรื่อง สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 มาเป็นแกนหลักแต่ ในขณะนั้นเอง ก็มีปัจจัยเรื่อง น้ำมันเข้ามาแทรก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ไม่ได้ทำให้ภาพใหญ่ของกลยุทธ์ผมเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้ามแต่มันกลับทำให้เกิดอัตราเร่ง นำไปสู่ จุดที่ผมมองไว้เร็วขึ้นไปอีกณ ตอนนี้ ผมมองว่า "เรื่องมันเพิ่งจะเริ่ม" เท่านั้นครับ .....ผมกำลังรอผลกระทบใน real sector แสดงออกมาให้เราดูอยู่ แน่นอนครับว่า ระหว่างนี้ ภาพช่วงสั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง ตราบใดที่แกนกลางของปัญหายังไม่ได้ถูกแก้ไข "เรื่องมันก็ยังไม่จบ" ที่สำคัญคือ "ไม่ประมาท ทำตามแผน ไม่ใช้อารมณ์" 3. Choose & Allocation - คัดเลือก และ กระจายความเสี่ยง ณ ตอนนี้ไม่ใช่เวลานั่งเศร้ากับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรที่จะทำให้เราได้เปรียบมากที่สุดตอนที่ทุกอย่างมันฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว รีวิว การลงทุน ประเภทต่างๆพลางๆ ครับ ว่าจะเอาเงินเราไปลงในอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แล้วเราเลือกเอาไปลงตรงนั้นด้วยเหตุผลใด 4. Insurance - ประกันภัย การซื้อประกันคือการจัดการกับความเสี่ยงในรูปแบบหนึ่งครับ ถ้าเราคิดว่าสุดท้ายเราก็ไม่รอดแน่ๆ ผมแนะนำให้ซื้อประกันเกี่ยวกับ COVID-19 มี 2 ประเภท คือ 1. ตรวจเจอแล้วได้เงิน อย่างน้อยถ้าเราเป็นก็ได้เงินมากินขนม (ปรกติเค้าแนะนำกันอย่างนี้มั๊ยครับ 5555) 2. แบบที่มีการรองรับค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษาตัว ซึ่งการที่เราซื้อประกัน ก็ ทำให้เราสามารถ cover loss ในส่วนนี้ได้ครับ *อย่าลืมไปอ่านเงื่อนไขการรับประกันก่อนซื้อนะครับ เท่าที่ผมดูตอนนี้ก็ไม่แพงเท่าไหร่ *** *เอาจริงๆ ถ้าไม่ติดได้ ก็จะดีกว่าครับ ป้องกันตัวเองดีๆ หลีกเลี่ยงการไปที่แออัด ใส่หน้ากาก ล้างมือทุกครั้งที่กลับมาถึงบ้าน หลังการสัมผัส ตู้ ATM ปุ่มลิฟท์ ราวจับบันได ลูกบิดประตูหรืออะไรที่ต้องจับบ่อยๆก็ทำความสะอาดบ่อยๆ ที่สำคัญที่สุด คือ โทรศัพท์มือถือ เราจับมันทุกวัน และต้องเอามาแนบหน้าตอนโทรอีก ทำความสะอาดกันด้วยนะครับ**** สุดท้ายถ้าติดขึ้นมาจริงๆ เราก็มีการรับประกันความเสี่ยงเอาไว้แล้ว ในระดับนึง
ที่มา : เพจพื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน |