ศัพท์น่ารู้ วิชาขยะพลาสติกเบื้องต้น 101
ศัพท์น่ารู้ วิชาขยะพลาสติกเบื้องต้น 101
มนุษย์เพิ่งทำความรู้จักกับพลาสติกเมื่อ 60 ปีที่แล้ว แต่ทุกวันนี้พลาสติกกลับกลายเป็นวายร้ายของโลก รัฐบาลหลายประเทศรวมถึงองค์กรนานาชาติได้ตระหนักถึงอันตรายที่ได้คืบคลานเข้ามาใกล้ตัว ต่างร่วมกันหาแนวทางแก้ไขหรือลดขยะพลาสติกนี้ให้ได้ในเร็ววัน ล่าสุด นิตยสาร National Geographic ฉบับเดือนมิถุนายน 2561 ออกแคมเปญ “Planet or Plastic” ที่กลายเป็นไวรัลชั่วข้ามคืนจากปกภูเขาน้ำแข็งแต่ใต้ท้องน้ำกลับเป็นพลาสติก ชวนทั่วโลกตระหนักและรับรู้ถึงสถานการณ์ขยะพลาสติกที่กำลังเข้าใกล้จุดวิกฤติไปทุกที แต่ในเมื่อสถานการณ์ขยะพลาสติกในปัจจุบันเต็มไปศัพท์เทคนิคแสนสับสน แล้วมือใหม่อย่างเราที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการลดขยะพลาสติกต้องเริ่มต้นจากตรงไหน พลาสติกแบบไหนที่อันตราย สารเคมีอะไรที่ควรเลิกคบและพลาสติกแบบไหนที่ช่วยโลกหรือไม่ช่วยกันแน่ นิตยสาร National Geographic ฉบับดังกล่าวจึงรวบรวมศัพท์เบื้องต้นมาไว้ ณ ที่นี่
คือสารเคมีที่ถูกเติมลงไประหว่างการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อเสริมสร้างหรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้เหมาะสม สารดังกล่าวจะเข้าไปกระจายอยู่ในเนื้อพลาสติกทางกายภาพ เช่น ทำให้แข็งแรงมากขึ้นหรือ ยืดหยุ่นได้ เป็นต้น โดยสารเติมแต่งส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วย สารเคมีช่วยกันน้ำ (water repellent) สารทำให้อ่อนนุ่ม (softener) สารหน่วงการติดไฟ (flame retardants) ผงสี (pigments) และ สารยับยั้งยูวี (UV inhibitor) หรือสารเติมแต่งบางอย่างก็อาจประกอบไปด้วยสารเคมีเป็นพิษชนิดอื่น โดยสารจำพวกดังกล่าวตกค้างและปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรวมถึงสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์เราได้อีกด้วย
เป็นคำที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด ทั้งยังถูกนำไปแปะฉลากในบางผลิตภัณฑ์ให้เข้าใจว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หากจะให้ตรงข้อเท็จจริงที่สุดนั้น คำว่า “ย่อยสลาย” ในที่นี่หมายถึง “ทำให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ (break down)” หรือ “ลดลง (degrade)” ไม่ได้หมายถึงการสลายในลักษณะหายไปจากโลกใบนี้ กล่าวคือ เป็นการลดรูปให้มีขนาดเล็กลง ด้วยความคลุมเครือนี้เองจึงส่งผลให้ในหลายๆ พื้นที่ในสหรัฐอเมริกาและบางประเทศมีการสั่งห้ามใช้คำดังกล่าวจนกว่าจะมีการตกลงถึงนิยามของมันอย่างชัดเจนว่าหมายความว่าอย่างไรกันแน่
เป็นคำที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายอย่างมาก อย่างไรก็ดีพลาสติกชีวภาพยังไม่มีการการันตีชัดเจนว่าพลาสติกจำพวกดังกล่าวจะไม่ได้ใช้สารเคมีอันตราย (non-toxic) หรือสารเชื้อเพลิงฟอสซิล (non-fossil-fuel) ในการผลิต ตามมาด้วยข้อกังวลเกี่ยวกับความหมายที่คลุมเครือไม่ต่างกับคำว่า biodegrade
เป็นคำที่ควรมองหา เนื่องจากพลาสติกประเภทนี้สามารถสลายตัวได้โดยผ่านกระบวนการหมักทางชีวภาพ แต่ต้องอยู่ภายใต้สภาวะธรรมชาติที่เหมาะสม (เช่น อุณหภูมิ) ทั้งนี้พลาสติกดังกล่าวเมื่อถูกย่อยออกมาเป็นน้ำ ก๊าซหรือสารชีวมวลต่างๆ (biomass) จะต้องไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ไมโครพลาสติกคือพลาสติกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร แบ่งออกเป็นสองชนิด ได้แก่
ปัจจุบันไมโครพลาสติกเป็นตัวการสำคัญในวิกฤติขยะพลาสติกในท้องทะเลทั่วโลก เนื่องจากยากต่อการจัดการ ทั้งยังอันตรายต่อระบบนิเวศแทบทุกทาง ไม่ว่าจะกับสัตว์ มนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม (อ่านเพิ่มเติม: ‘ไมโครพลาสติก’ กับข้อค้นพบใหม่ !!! เจ้าวายร้ายแฝงตัวใน ‘ยาสีฟัน-โฟมล้างหน้า’ https://greennews.agency/?p=15641)
PET ขึ้นชื่อเรื่องการย่อยสลายที่ยากและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน เป็นหนึ่งในโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางมากที่สุด ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็พลาสติกใส แข็งแรง น้ำหนักเบา มักถูกใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุเครื่องดื่มอาหารหรือผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนทั่วไป เช่น เครื่องดื่มแบบขวดต่างๆ หรือ กล่องอาหาร
พลาสติกเป็นพอลิเมอร์ที่ขนาดใหญ่และมวลโมเลกุลมาก ขึ้นเป็นรูปต่างๆ ได้ด้วยความร้อน มีความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ ถูกนำไปใช้เป็นตั้งแต่ของของเด็กเล่นไปจนถึงการก่อสร้างอาคาร ยากต่อการกำจัดและย่อยสลาย รวมถึงบางชนิดไม่อาจย่อยสลายได้ แม้จะมีประโยชน์มหาศาลแต่หากใช้อย่างประมาทแล้ว พอลิเมอร์อาจเกิดการปนเปื้อนหรือตกค้างเนื่องจากไม่สามารถย่อยสลายได้และนำมาสู่การเกิดมลภาวะต่อระบบนิเวศทั้งทางบกและทางน้ำได้
คือระบบรีไซเคิลที่นำขยะประเภท กระดาษ กล่องกระดาษ พลาสติก แก้ว กระป๋องน้ำอัดลมหรือขวดพลาสติกต่างๆ มารีไซเคิลร่วมกัน (แต่ห้ามนำ อาหารเปียก ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถุงพลาสติกและสายไฟ มารวม) โดยถูกใช้ครั้งแรกที่ชุมชนแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อศตวรรษที่ 1990 เชื่อว่าระบบรีไซเคิลดังกล่าวนั้นมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดเก็บได้มากกว่าการแยกขยะเป็นประเภทๆ ทั้งยังช่วยลดภาระการทำงานของพนักงานได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการรีไซเคิลนี้ยังมีหลายฝ่ายไม่ให้การยอมรับเนื่องจากกังวลว่า ขยะรีไซเคิลบางอย่างอาจไม่สามารถจัดการได้อย่างครบถ้วนในกระบวนการเดียวและอาจไปจบลงอยู่ที่หลุมฝังกลบแทน
เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีปัญหามากที่สุด ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น แก้วกาแฟพลาสติก หลอดพลาสติกหรือถุงพลาสติกในร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของพลาสติกประเภทดังกล่าวมีบทบาทเพียงแค่การหีบห่อ (packaging) และจบหน้าที่ด้วยการถูกทิ้งขวาง(อ่านเพิ่มเติม: ต้องหยุดวัฒนธรรม ‘ทิ้งขว้าง’ 80% ของขยะพลาสติกคือ ‘หีบห่อ’
อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ขยะพลาสติกจะไม่ลดลง หากไม่เริ่มตนจากตัวเอง เราทุกคนสามารถเริ่มได้ง่ายๆ เพียงลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่วันนี้และตอนนี้เลย
|