บลจ.กสิกรไทย จัดเสวนาพิเศษ Climate Tipping Point A Race Against Time เชิญองค์กรชั้นนำของประเทศ สร้างองค์ความรู้คู่โลกธุรกิจอย่างยั่งยืน

บลจ.กสิกรไทย จัดเสวนาพิเศษ Climate Tipping Point, A Race Against Time

เชิญองค์กรชั้นนำของประเทศ สร้างองค์ความรู้คู่โลกธุรกิจอย่างยั่งยืน

       บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) จัดงานเสวนาพิเศษ Exclusive Luncheon Roundtable Climate Tipping Point, A Race Against Time เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงจุดเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ โดยเชิญองค์กรชั้นนำของประเทศที่มีบทบาทสำคัญทั้งในภาคการเงินและตลาดทุน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม  โดยเฉพาะประเด็นการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กรให้เปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจโลกที่มีคาร์บอนต่ำ และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ โดยมี ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ (คนที่ จากขวา) ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และ ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย พร้อมด้วยนายวิน พรหมแพทย์ (คนที่ จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย ร่วมให้การต้อนรับ ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน เมื่อเร็วๆ นี้

 

 

รายชื่อผู้บริหารจากขวาไปซ้าย

1. คุณปรวีร์ เมาลานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน  
2. ดร.สุธี โมกขะเวส กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  
3. ผศ.ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา ประธาน เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (SUN Thailand)
4. รศ.พญ.อุบลรัตน์ สันตวัตร รองคณบดีฝ่ายการคลัง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
5. ผศ.ดร.ปมทอง  มาลากุล ณ อยุธยา ที่ปรึกษาอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. คุณอารีวัลย์ เอี่ยมดิลกวงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
7. ผศ.ชล บุนนาค ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและความยั่งยืนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และ ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย
9. ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
10. คุณวิน พรหมแพทย์ ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย
11. คุณทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
12. คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
13. คุณสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
14. คุณวรางค์ ไชยวรรณ กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
15. ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
16. รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีวิศวะกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
Summarized speech  ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เชื่อว่าในการยกระดับชีวิตของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมจึงต้องเริ่มจากการพัฒนาคน ให้มีความรู้และความมั่นคงของอาชีพตลอดจนรายได้ที่เพียงพอสำหรับดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน

“การปลูกป่า ง่าย ใครก็ทำได้ แต่การปลูกให้รอดยาก การจะให้ป่ารอด จะปลูกแต่ต้นไม้ไม่ได้ ต้องปลูกคน ให้เขาสามารถมีรายได้ที่เพียงพอ และคนเหล่านั้นจะสามารถสร้างสิ่งดีๆคืนกลับสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมได้”

ที่ผ่านมามูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างงาน สร้างอาชีพ การสร้าง value added เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ทำให้คนในพื้นที่มีความมั่นคงในชีวิตและสวัสดิการที่ดีขึ้น มองเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่มีเรื่อง carbon credit เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านมี passive income ไปพร้อมกับการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างของ the living solution

ใน 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่อง Decarbonization และมีการพูดถึงเรื่อง Carbon Credit มากขึ้น โดนธุรกิจเริ่มมีการมุ่งเน้นการทำธุรกิจสีเขียวซึ่งการดำเนินการยังอยู่ในแค่ขอบเขตของ Green แต่อยากให้มองถึงประเด็นเรื่อง Biodiversity ด้วย เพราะในปัจจุบันเกินกว่าครึ่งหรือจนถึงแทบทั้งหมดของการทำธุรกิจนั้นต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ทุกคนอาจจะทราบในประเด็นนี้แต่อาจยังไม่ได้นำเอาประเรื่อง Biodiversity มาพิจารณาอยู่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจเท่าที่ควร

ปัจจุบันทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีการเปิดตัวโครงการ carbon credit จากป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กว่าสามแสนไร่ มีภาคเอกชนเข้าร่วมกว่า 21 บริษัท ชุมชนกว่า 1,000 ชุมชน โดยทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เริ่มจากการสำรวจชุมชนที่มี potential high yield for carbon credit & low risk for governance แล้วมีการประเมินเป็น scoring เพื่อจัดเป็น portfolio นำไปเสนอกับบริษัทเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ



“ประเด็นสำคัญคือ เราต้องไม่ทำโครงการเพื่อแค่ให้ได้มาเพื่อ carbon credit แต่ให้มองว่า carbon credit เป็นผลจากการการเติบโตของสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ทั้งจากการปลูกป่าใหม่และการอนุรักษ์ป่าดั้งเดิม เราควรให้ความสำคัญเรื่อง biodiversity มากกว่าการมุ่งเน้นเรื่องของ carbon credit เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก biodiversity มีความสำคัญกับความยั่งยืนของระบบนิเวศน์และการอยู่รอดของป่า”

การปลูกป่าใหม่โดยใช้ไม้ที่โตเร็วอย่างเดียวแต่ไม่ได้คำนึงถึงระบบนิเวศ (Ecosystem)โดยรวมจะไม่มีความยั่งยืน โดยชี้ว่าการอนุรักษ์ป่าดั้งเดิมมีความสำคัญเนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์และเป็น ecosystem ที่สำคัญกับโลกเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกป่าใหม่ ซึ่งภาคเอกชนที่มีความพร้อมจะมีศักยภาพที่จะช่วยเรื่องนี้ได้มาก

จากการที่ได้มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับทาง Lombard Odier Investment Manager (LOIM) เกี่ยวกับเรื่อง Nature-based investment solution ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับโครงการในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมได้ โดยทาง LOIM ได้มีมีการ Identify inefficiency ที่เกิดขึ้นใน sector ที่เป็น nature-based และเข้าไปบริหารจัดการให้ดีขึ้นทำให้มีผลตอบแทน IRR เป็น double digit ซึ่งเงินทุนของกองทุนมาจากลูกค้าสถาบันที่ให้ความสำคัญและต้องการบริหารจัดการความเสี่ยงในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดย LOIM มีการปรับเปลี่ยน Coffee plantation ที่ประเทศลาวให้เป็น nature-based plantation ในพื้นที่กว่า 3700 ไร่ และจากผลการสำรวจพบว่า มีแมลง ผึ้ง สัตว์ป่า เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ทำให้นอกจากสามารถผลิตกาแฟคุณภาพดีที่เป็นความต้องการของตลาดแล้ว ยังมีส่วนร่วมในการช่วยด้านการปรับปรุงระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพด้วย ส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์และผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น

ทุกวันนี้ โครงการพัฒนาดอยตุงถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการการปลูกกาแฟซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจและการปลูกป่าไปพร้อมกัน เพราะเป็นการเปลี่ยนจากไร่เลื่อนลอยเป็นการเกษตรเชิงเดี่ยวระยะสั้นที่ได้ productivity ที่สูงกว่า โดยใช้พื้นที่การเกษตรและการปลูกป่าในขณะเดียวกัน ซึ่งนอกจากการปลูกกาแฟ ก็เริ่มมีการปลูกโกโก้เป็นทางเลือกให้เกษตรกรอีกด้วย

อ้างอิงจาก Biodiversity Credit Alliance (BCA) มีผลการศึกษาว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทุกทุก 1 องศาเซลเซียส อากาศจะเก็บและดึงความชื้นจากพื้นดินเพิ่มขึ้น 7% ดังนั้นพื้นที่แล้ง ก็จะแล้งหนัก พอก่อตัวเป็นฝนก็ตกหนักขึ้น โดยปีนี้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นเกิน 1.5 องศา ตลอดทั้งปี ทำให้เป็นปีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำท่วมค่อนข้างมาก

โดยสรุปหากภาครัฐจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ Green Investment ที่เข้มแข็งและชัดเจนยิ่งขึ้นและทางเอกชนนำไปปรับใช้อย่างจริงจังทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้
 
Visitors: 1,406,281